8 มี.ค. 2558

เทคนิคและข้อแนะนำในการนั่งรถไฟด่วนในญี่ปุ่น

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ตารางเวลารถไฟญี่ปุ่นจะอัพเดตอีกแล้ววววว
..เอ๊ะ? อะไรนะ???
รถไฟญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่จะมีการอัพเดตตารางเวลาในช่วงวันที่ 14 มีนาคม ของแทบทุกปี เป็นการเปลี่ยนปี สำหรับในปีนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงหลากหลายครับ
ในครั้งนี้เราจะกล่าวแนะนำถึงการขึ้นรถไฟด่วนพิเศษกันนิดนึงครับ (ซึ่งบางตัวไม่เกี่ยวกับตารางเวลา.. แต่ก็ขอเอามาหยิบยกประเด็น)
   ก่อนอื่น รถไฟด่วนพิเศษ(JR)ที่นี่จะแบ่งที่นั่งหลักๆ เป็นแบบ Non-Reserved 自由席 (Jiyuu seki) / Reserved 指定席 (Shitei seki) และ ที่นั่งเขียว หรือที่นั่งชั้นหนึ่ง Reserved グリーン車指定席(Green sha shitei seki)
   ที่นั่งชั้นหนึ่งเป็นที่นั่งแบบนั่งสบายกว่าครับ ซึ่งผู้ถือพาสทั่วไปจะใช้ไม่ได้นะครับ อาจจะต้องเป็น Green pass แบบเอาไว้นั่งชั้นหนึ่ง
   ส่วนที่นั่งแบบ Reserved กับ Non-reserved นั้น ถ้าถือพาสก็สามารถที่จะนั่งที่นั่งไม่จอง (Non-reserved) ได้เลยครับ ถ้าช่วงเทศกาลก็อาจจะไม่มีที่นั่ง เป็นรถด่วนพิเศษแบบตั๋วยืนก็เป็นได้นะครับ แต่ถ้าที่นั่งแบบจอง (Reserved) จะต้องจองที่นั่งก่อนครับ ถึงจะขึ้นได้ เวลาจองก็จองตั๋วที่สถานีได้เลย(พร้อมแสดงพาส) นะครับ เราไม่สามารถขึ้นไปนั่งบน Reserved seat ได้โดยไม่มีตั๋วจอง
   รถไฟบางขบวนเป็น All reserved seats ตัวอย่างเช่น Super view Odoriko , Narita Express ฯลฯ ให้จองก่อนขึ้นครับ
http://livedoor.blogimg.jp/yurikamome77/imgs/e/9/e9e065bd.jpg?480268
   ในกรณีรถไฟบางขบวน รวมถึงชินคันเซ็น ถ้าหากว่าที่นั่งเต็มแล้ว เราก็ต้องตีตั๋วยืนนะครับ Tachiseki 立席 ในกรณีนี้น่าจะต้องซื้อกับเจ้าหน้าที่ ส่วน Narita express ถ้าขึ้นผิดขบวนก็ไม่มีปัญหาครับ แต่ก็ตีตั๋วยืนไปจนถึงสนามบินนะครับ (ตรงประตูทางออกของ Narita express มีเก้าอี้พับเก็บไว้อยู่ครับ)
   In case of JR Limited express (or Shinkansen) is full, you can buy a standing seat. Also if you miss the Narita express train (which is all reserved seats) you can ask conductor for standing seat. (There is a hiding seat folded in the deck of Narita Express)

   ต่อไปเป็นเรื่องของรถไฟเส้นใหม่อย่างทางรถไฟสาย Ueno-Tokyo line ครับ
ทางรถไฟนี้จะทำให้รถไฟสายเหนือจากที่สุด Ueno จะต่อไปถึง Tokyo Shinagawa และสายเหนือ(Utsunomiya/Takasaki)กับสายใต้(Tokaido)ต่อกันยาวๆ เป็นเส้นเดียว ว่ากันว่าจะเกิดรถไฟธรรมดาที่วิ่งยาวววว แบบสี่ชั่วโมงติดๆ (ถือว่ายาว..) และทั้งนี้ก็น่าจะทำให้เกิดการสับสนได้ง่ายขึ้นเล็กน้อยสำหรับเวลาที่เที่ยวกลับจากต่างจังหวัดเข้าโตเกียว??
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะว่าจากต่างจังหวัดเข้าเมืองนั้น สมัยก่อนก็สุดแค่ Ueno จากทางเหนือ หรือ Tokyo จากทางใต้ ส่วนรถไฟบางคันที่เป็น Direct train เหนือใต้นั้นจะวิ่งอ้อมไปทางชินจุกุ เรียกว่า Shonan-Shinjuku line
หน้าตาของรถไฟชานเมืองของญี่ปุ่น สีเขียวส้ม
   ตัวอย่างเช่น ถ้านั่งรถไฟมาจาก Utsunomiya ต้องการจะมา Shinjuku เมื่อ Ueno-Tokyo line เปิด จะทำให้รถไฟ(แทบ)ทุกขบวนเป็นเที่ยวเหนือใต้หมด ทีนี้ก็จะต้องดูดีๆ กันนะครับว่าเป็น Via Shinjuku หรือ Via Ueno นะครับ
   นอกจากนี้ยังมีรถไฟสาย Joban line (วิ่งขึ้นเหนือ แต่ออกไปทางฝั่งทะเลตะวันออก) (ไปทางสวน Hitachi) จะต่อจาก Ueno มาถึง Shinagawa ครับ คราวนี้รถไฟก็จะวิ่งกับสนุกสนานหลายสีเลยทีเดียว
wikipedia
จากนั้นเราจะมาพูดถึงรถด่วนพิเศษของ Joban line กันนะครับ รถไฟด่วน Hitachi และ Tokiwa ของสาย Joban line หน้าตาแบบนี้ครับ โดยจะมีการปรับเปลี่ยนแบบการนั่งบนรถครับ
เดิมทีแล้วที่เราแบ่ง Green / Reserved / Non-Reserved ไปนั้น
คราวนี้จะเป็น Green / กับ...ที่นั่งครับ
รถไฟที่ไม่ใช่ที่นั่งกรีน จะสามารถจองได้อย่างอิสระครับ จองตรงไหนก็ได้ หรือจะไม่ต้องจองก็ได้ ราคาเท่ากัน แต่ว่าถ้าถือตั๋ว Non-Reserved จะขึ้นไม่ได้นะครับ จะต้องเป็นตั๋ว Reserved seat
ในกรณีที่ยังไม่รู้ว่าจะขึ้นขบวนไหนดี ให้จองเป็นแบบ Not already Reserved Mishitei 未指定席 จากนั้นก็สามารถที่จะนั่งที่นั่งใดก็ได้ที่ว่าง (จะมีไฟเหนือที่นั่งเป็นสีแดง)
ถ้าที่นั้นมีคนจอง และคนจองกำลังจะขึ้นที่สถานีหน้า ไฟจะขึ้นเป็นสีเหลือง เมื่อถึงสถานีที่มีคนจองที่นั่งตรงนั้นไว้ ก็จะกลายเป็นสีเขียว แล้วก็ต้องสละที่นั่งให้คนที่จอง คราวนี้ถ้าไม่จองก็อาจจะเปลี่ยนที่นั่งกันสนุกสนาน (ไม่หรอก เปลี่ยนที่นั่งบ่อยมันเหนื่อยนะ..) ก็จองที่นั่งเลือกขบวนให้เรียบร้อยครับ เพราะว่าจองไม่จองก็ราคาเท่ากัน
ผู้เขียนคิดว่าเนื่องจาก Non-Reserved seats ขึ้นไม่ได้ สำหรับผู้ที่ถือพาสอาจจะต้องจองล่วงหน้าไปก่อนถึงขึ้นได้ครับ
http://www.jreast.co.jp/sp/hitachi_tokiwa/howtouse/index.html
ลักษณะนี้น่าจะคล้ายๆ กับรถด่วนพิเศษ Swallow akagi แต่ในที่นี้ไม่ได้ยกตัวอย่างขึ้นมาครับ จริงๆ แล้วรถนี้เหมือนเป็นรถด่วนสำหรับคนทำงานมากกว่า..

ในเรื่องต่อไปจะกล่าวถึง Green cars บนรถไฟชานเมืองธรรมดากันนะครับ
หน้าตาของรถไฟสองชั้นครับ
   รถไฟ Green cars สองชั้นนั้นจะมีให้บริการในรถไฟชานเมืองสีเขียวส้ม สาย Joban line ที่เป็นรถสีน้ำเงินเข้ม สาย Chuo line สีส้ม (ในปี 2560) โดยไม่ระบุที่นั่ง (Non-reserved) ในกรณีที่ผู้โดยสารถือพาสก็จริง แต่ก็ไม่สามารถโดยสารขบวนรถนี้ได้นะครับ เนื่องจากเป็น Green car ทำให้ไม่สามารถขึ้นได้ครับ จะต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มเติม
   ค่าโดยสารของรถ Green cars ธรรมดาสองชั้นจะขึ้นกับระยะทาง และซื้อก่อนขึ้นรถหรือซื้อหลังขึ้นรถ (ซื้อหลังขึ้นรถจะแพงกว่าเดิม) และในวันหยุดค่าโดยสารจะลด 200 เยนครับ ก็ถือว่าสะดวกสบายสำหรับผู้ที่ไม่รีบร้อน แล้วอยากนั่งสบายๆ (ข้อแนะนำ : นั่งชั้นบนดีกว่าชั้นล่าง) -->ตั๋ว Seishun 18 นั่ง Green cars 2 ชั้น แบบที่เป็น Non-Reserved ได้ครับ
ตัวอย่างที่นั่ง Green cars ของรถไฟชานเมืองธรรมดา

สำหรับขั้นตอนการนั่งรถไฟก็คงจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกท่านนะครับ
มีข้อสงสัยถามได้ที่ worketadirect@gmail.com ครับ
คำเตือน : อย่าเต้นบนรถไฟนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น