4 ต.ค. 2567

รางรถไฟเก่า YAWATA แถวบ้าน 実家近くで見つけた、八幡製鐵所の古いレール

 เดินเล่นแถวบ้านที่สถานีสามเสน แล้วไปสะดุดตากับสิ่งหนึ่งครับ
 今日は、バンコクの実家近くで見つけた、古いレールを転用した、
電柱らしきものを紹介します。その古いレールにはある文字列が刻まれました。


 นี่เป็นเสาโทรเลขที่อยู่ริมทางรถไฟ ซึ่งดูจากรูปทรงแล้วก็พอทราบได้ว่าเป็นรางรถไฟเก่าที่นำมาทำเป็นเสาโทรเลข (แน่นอนว่าปัจจุบันไม่มีโทรเลขแล้ว แต่ก็ยังเรียกเสานี้ว่าเสาโทรเลข) เมื่อสังเกตตัวอักษรที่อยู่บนหมายเลขแล้ว ได้ความว่า
 ここはタイ国鉄本線のすぐそばで、その電柱も線路と並行して設置されています。はい、これはタイ国鉄専用の電報柱でした。電報は10数年前に廃止されていますが、今でも電報柱と呼ばれています。その古いレールに刻まれた文字列は…

25. R.S.R. YAWATA -Ⓢ- 1936. O.B

 R.S.R. นั่นคือชื่อย่อของ Royal Siam Railway ซึ่งคือชื่อเดิมของรถไฟหลวงในสมัยนั้น ก่อนมาเป็น SRT ในปัจจุบัน ส่วนหมายเลข 1936 คงเดาได้ไม่ยาก ว่าเป็นปีที่รางรถไฟเส้นนี้ถูกผลิต

ว่าแต่ "YAWATA" คืออะไร...

"Imperial steel works" Yawata branch since 1901

 หลังจากญี่ปุ่นได้มีการปฏิรูปประเทศ(เปิดประเทศและเปลี่ยนแปลงการปกครอง) ในช่วงทศวรรษ 1860s การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial revolution) ก็เกิดอย่างต่อเนื่อง ญี่ปุ่นเริ่มมีรถไฟเมื่อปี 1872 แต่เทคโนโลยีตอนนั้น รวมถึงรางเหล็กก็นำเข้าจากอังกฤษ เยอรมันเป็นส่วนใหญ่
    ในปี 1901 ได้มีการตั้งโรงงานถลุงเหล็กของรัฐบาลเป็นแห่งแรกเขต Yahata ใน Kitakyushu (จังหวัด Fukuoka) แห่งนี้ขึ้นมา โดยตั้งแต่นั้น Yawata steel works ได้เป็นโรงเหล็กหลักที่ผลิตรางรถไฟภายในประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด

Yawata Steel Works 
https://www.qsr.mlit.go.jp/suishin/story2019/english/03_9.html


โลโก้ของ Yawata steel works ซึ่งตรงกับที่ปรากฎอยู่บนรางที่เห็น

 R.S.R. は Royal Siam Railway の略称、これはタイ国鉄の旧名称でした。YAWATAの文字と -Ⓢ- のロゴは、紛れもなく日本初の製鉄所である「八幡製鐵所」のことでしょう。ただ、北九州の八幡だと「やはた」と読みますが、調べてみると、製鉄所のほうは「やわた」と読むそうです。
    25の数字は、おそらくレールの大きさを表す数字でしょう。正確にはレールの長さあたりの重量で、kg/m と pound/yd の2つの単位がありますが、25 kg/m (60 pound/yd 相当)だと思われます。

 ทั้งนี้ 八幡 ที่อยู่ใน Kitakyushu นั้นอ่านว่า YAHATA แต่ว่าชื่อของโรงถลุงเหล็กนั้นอ่านว่า YAWATA
(แล้วจะมีพวกศาลเจ้าที่ชื่อ 八幡(宮) ซึ่งตรงนี้จะอ่านว่า "hachiman" สรุปคือจะอ่านว่าอะไรกันแน่ !!)
 ส่วนหมายเลข 25 หน้า R.S.R. คืออะไร คาดว่าจะเป็นขนาดของราง 25 kg/m  ทั้งนี้รางรถไฟจะมีอยู่สองหน่วยวัดคือ kg/m หรือ ปอนด์/หลา ซึ่งถ้าแปลงหน่วยแล้ว 25 kg/m จะอยู่ที่ประมาณ 60 ปอนด์/หลา นั่นเอง

    แล้วราง YAWATA นั้นมีที่อื่นอีกหรือไม่... เลยเดินสำรวจเสาโทรเลขข้างสถานีสามเสนไปเรื่อยๆ
    ところで、Sam Sen 駅周辺に、同じレールを使った他の電報柱があるでしょうか…


    สรุปแล้ว เสาโทรเลขที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟสามเสนนั้น น่าจะทำจากรางรถไฟที่ผลิตที่ YAWATA Steel Works ในปี 1936 ทั้งหมดเลย ไม่ได้มีตัวอักษรสลักไว้ที่ทุกเสา แต่เจอหลายๆ เสาติดกัน ก็คงเป็นเสาโทรเลขที่ใช้รางเก่าล็อตเดียวกันมาทำ
    รางรถไฟนั้นเป็นเหล็กแท่งรูปตัว H ที่มีลักษณะเด่นชัดเพราะขีดด้านบนไม่เท่ากับด้านล่าง เป็นการออกแบบเพื่อให้รางรถไฟมีความแข็งแกร่งและทนทานต่อการใช้งาน และด้วยลักษณะเฉพาะตัวของราง ทำให้สังเกตได้ง่ายว่า "นี่ไง รางรถไฟเก่าเอามาทำเป็นโครงสร้างอย่างอื่น!" หากท่านใดสังเกตเห็นโครงสร้างที่เหมือนรางรถไฟเก่า ลองสืบหาข้อมูลกันดูครับ
(หมายเหตุ : อย่าไปสืบดูรางรถไฟปัจจุบันจนเพลินนะ ! มันมีรถไฟวิ่งอยู่ !)

    調査の結果、すべての電柱に文字が確認できたわけではありませんが、多くは YAWATA 1936 の文字が見えました。同じロットの古いレールから、同時期に作られた電報柱だと思われます。日本国内で日本製の古いレールはたくさん見らそうですが、海外で日本製の古いレールを転用した構造物は珍しいかも?の声も寄せられました。レールの形も特徴的ですので、古いレールを転用した構造物は一目で分かります。探してみてはいかがでしょうか。

เสาที่เอาไว้ค้าเสาโทรเลขอีกทีนึง ยังมีตัวเชื่อมต่อรางติดมาด้วยเลย
レールの継目もそのまま ??


ーーー+ーーー+ーーー+ーーー+ーーー+ーーー+ーーー+ーーー+ーーー
Kitakyushu City

    ในปัจจุบัน Nippon Steel ก็ยังมีโรงงานขนาดมหึมาอยู่บริเวณนี้ ส่วนอาคารสำนักงานหลังแรกของ Yawata steel works ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก บริเวณนั้นไม่สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ แต่มีลานจัดแสดงที่สามารถชมวิวกว้างๆ ของโรงถลุงเหล็ก รวมถึงอาคารสำนักงานได้

ส่วนเตาหลอมเหล็กขนาดยักษ์ (Blast furnace) ตัวแรกที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 1901 นั้นก็ยังมีการจัดแสดงอยู่ แต่จะอยู่อีกบริเวณหนึ่ง

ในบริเวณนี้ นอกจากจะมีทางรถไฟ JR แล้ว ยังมีรางรถไฟเฉพาะที่เอาไว้สำหรับขนเหล็กภายในโรงงาน ที่ชื่อว่า Kurogane line ด้วย
住宅街の真ん中を走る貨物線が違和感ありすぎた。- がみ
Kurogane line in action

    ซึ่งสถานที่เหล่านี้อยู่ติดกับ The Outlets Kitakyushu ซึ่งเป็นเอาต์เล็ตใหม่ที่เพิ่งเปิดเมื่อ 2022 (เดิมเป็นสวนสนุกชื่อ Spaceworld ปิดตัวลงเมื่อปี 2017) หากท่านใดได้มีโอกาสมาที่ The Outlets Kitakyushu ก็สามารถแวะมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของโรงถลุกเหล็กและอดีตอุตสาหกรรมอันเฟื่องฟูของ Kitakyushu ด้วยก็ดีครับ
(หมายเหตุ : โพสต์นี้ไม่ได้เป็นการโฆษณาเอาต์เล็ต หรือโรงงานผลิตเหล็กแต่อย่างไร)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น