9 ธ.ค. 2556

W Fun Facts 20: Basic Calendar Problems

สวัสดีวันยุบสภานะครับทุกคน...ยุบสภาหนีก่อนนะครับแหม่... แล้วแต่จะมองยังไงผมไม่สนหรอก ทุกคนย่อมมีส่วนดีและส่วนไม่ดีของตัวเอง ผมมองว่าทุกท่านก็มีส่วนดีและไม่ดีอยู่หรอก แล้วแต่ว่าจะดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไรเท่านั้นเองครับ
----------------------
<--Episode 19 / This Episode / Episode 21-->
<--Sp.Episode 4
สอวน. คณิตศาสตร์ รอบที่สอง2556 ประกาศผลแล้ว (ศูนย์ประเทศสวนกุหลาบ)
---------------------------------------------------------
วันนี้เราจะมาเข้า Facts จริงๆ กันแล้วนะครับ เกี่ยวกับการนับเบื้องต้นในเรื่อง "หลักการคูณ" นะครับ สืบเนื่องจากโจทย์คณิตศาสตร์ครั้งก่อนนั่นเอง
อ่านโจทย์
ครับ เฉลยกันครับผม

-->
วันสับสนที่โจทย์ข้อนี้นิยามคือ วันที่อ่านได้สองแบบ อ่านจากหน้าไปหลังหรือหลังไปหน้า (วัน/เดือน) ก็มีความหมายทั้งคู่ อย่าง 17/11 ตีความได้แค่ วันที่ 17 เดือน 11 ตีความเป็นวันที่ 11 เดือน 17 ไม่ได้...หรือถ้าจะจิ้นมากพอ
ส่วนวันนี้ 9/12 อ่านได้สองแบบคือวันที่ 9 เดือน 12 หรือไม่ก็ 12 เดือน 9
-->
วันสับสนทั้งปีจะเกิดจากเพียงแค่เลข 01-12 ตามจำนวนเดือนในแต่ละปี ทำให้วันสับสนในแต่ละปีมีทั้งหมด 12x12 = 144 วัน ??? เดี๋ยวๆๆๆ ในนี้มีวันที่เราจะไม่สับสนด้วยคือ 1/1 ถึง 12/12 แม้จะอ่านกลับหลังได้ แต่ยังให้ความหมายเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นหักลบด้วย 12 วันสับสนจึงเหลือแค่ 132 วันในแต่ละปี คิดเป็นประมาณร้อยละ 36 ของวันในปีหนึ่งๆ
-->
ในแต่ละปีจะมีวันสับสนที่เมื่อตีความแล้ว ดันเป็นวันทั้งเจ็ด (จันทร์-อาทิตย์) ที่ตรงกันและไม่ตรงกันด้วย วิธิการคำนวณคือนั่งนับด้วยการเขียนมือ หรือการเปิดปฏิทิน(ซึ่งใช้ไม่ได้ในห้องสอบ)...เพื่อความชัวร์ ผมเปิดปฏิทินเอา ในปีที่มี 365 วันจะมีวันสับสนที่อ่านกลับหน้าหลังแล้วเป็นวันเดียวกันในสัปดาห์มีทั้งหมด 6 วันครับผม (ดูที่รูปภาพ)
------------------------------------------
ทิ้งท้ายด้วยข้อควรระวังในการทำโจทย์การนับเบื้องต้น
1.นับให้ครบทุกกรณี
2.อย่านับในกรณีที่ซ้ำกัน อย่าลืมลบออก และอย่าลบเกิน
WORKETA