2 มิ.ย. 2557

WORKETA Paint Ep 4.1 : พื้นหลังขาวง่ายโดยใช้เพ้นท์


สวัสดีวันจันทร์กันอีกครั้งครับ เรามาวันจันทร์กันตลอดเลย เป็นการเริ่มต้นสัปดาห์สบายๆ นั่นเองครับ ตัวผู้เขียนเองก็มีเพียงไม่กี่คน ก็จะต้องพยายามหาเวลาว่างในการเขียนเว็บไซต์วันจันทร์เสมอ สำหรับโพสต์เพ้นท์ของเราก็เริ่มมีความนิยมกันมาบ้างแล้วครับ ขอบคุณทุกท่านที่รับชมครับ
ทั้งนี้ทางฝ่าย Youtube ของเราก็กำลังทยอยตัดต่อวิดิโอออกมาแล้วนะครับ เริ่มกันด้วยวิดิโอรถไฟ WORKETA STAYTiON : Taura Sta. สถานีรถไฟทาอุระแถบอ่าว Yokosuka เราได้ยินมาว่าสถานีนี้มีอะไรบางอย่างพิเศษ เราก็เลยยอมนั่งรถไฟไปหนึ่งชั่วโมงเพื่อดูสถานีรถไฟที่มีชานชาลาสั้นกว่าตัวรถไฟฟ้าครับ แถมปลายชานชาลาทั้งสองข้างเป็นอุโมงค์ครับ ทำให้รถไฟจะต้องยื่นหน้าเข้าไปจอดในอุโมงค์ แล้วท้ายขบวนอยู่ปลายชานชาลา ประตูด้านหน้าจึงเปิดไม่ได้ไป 5 ประตู
เป็นหลักการที่เรียกว่า selective door operation ที่พนักงานจะเลือกเปิดไม่ครบทุกประตู (ไม่ใช่ manual door operation ซึ่งคือคนที่อยากขึ้นรถเปิดประตูเอง แตกต่างกัน...) ลองดูครับ
ครั้งนี้เราเข้ามาสู่ตอนที่ 4 ซึ่งจะทำเป็นตอนสุดท้ายของการใช้โปรแกรมเพ้นท์แล้ว ต่อไปจะขึ้นเรื่อง powerpaint นะครับ ผมคิดแล้วคิดอีกว่าจะเขียนอะไร สุดท้ายก็ต้องลงกันที่การแยกเป็นสองตอนครับ...
วันนี้เป็นตอนที่ 4.1. ของการเพ้นท์ เราจะมาพูดถึงการดึงรูปออกมาใช้ในอีกแบบหนึ่ง คือการทำพื้นหลังสีเดียว
ตัวอย่างที่ใช้รูปพื้นหลังสีเดียวก็คงจะหนีไม่พ้นรูปถ่ายติดบัตรหละครับ ทีนี้ถ้าเราอยากจะทำง่ายๆ โดยใช้เพ้นท์ (ซึ่งอาจจะไม่เนียนเท่าโฟโต้ช็อป) แต่ก็สามารถทำให้เนียนได้ครับ
-->Continue

เราจะมาเริ่มกันเลยครับ เริ่มจากการหาภาพที่มีวัตถุเด่นออกมาครับ
ภาพนี้เป็นภาพรถไฟรุ่น E233-0 ถ่ายที่สถานีชินจุกุ เราอยากจะเอาเฉพาะรถไฟครับ มาลองทำกันดีกว่า

(คลิกที่ภาพเพื่อขนาดใหญ่)
บทเรียนนี้จะเป็นบทเรียนพื้นฐานของ Powerpoint ในตอนถัดไป "ประกอบ ตัดแปะ ทลายพื้นหลัง"
ก่อนอื่นครับ...ในการนำไปประกอบ powerpoint หากพื้นหลังเป็นสีที่ใกล้เคียงกับภาพ แล้วเมื่อใส่เอฟเฟคทำงายพื้นหลังจะทำให้ภาพเสียหายไป เพราะสีภาพบางส่วนหายไปด้วย เช่นภาพนี้ก็คือสีส้ม สีเทา สีดำ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของครับ ถ้าใช้พื้นหลังเป็นสีเหล่านี้มีโอกาสที่ภาพจะหายไปเมื่อใช้เอฟเฟค ทั้งนี้เราก็จะทำสีพื้นหลังเป็นสีอื่นครับ ในที่นี้ขอใช้เป็นสีน้ำเงินในการทำครับ
ก่อนอื่น เวลาทำงานพวกที่มีขอบก็จะต้องเริ่มจากการทำอย่างง่าย (หยาบ) จากนั้นจึงลงไปที่รายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นทั้งการระบายสี การใช้กล้องจุลทรรศน์ ฯลฯ (เห็นไหมว่ามันใช้ในทุกวิชาทั้งศิลปะ แม้กระทั่ง...วิทยาศาสตร์) เราก็จะเริ่มทำการเอาส่วนพื้นหลังที่ไม่จำเป็นออกด้วยความรวดเร็วครับ...
ใช้การคร็อปออก และในส่วนที่เป็นสามเหลี่ยม ใช้รูปหลายเหลี่ยม โดยตั้งค่า fill solid color โดยสี 1 2 ต้องเป็นสีเดียวกัน (หรืออาจตั้ง no outline แต่ยังไงก็ต้องตั้งสีโดยสีที่ 2 นะครับ) สักพักก็จะได้ภาพที่ถูกตัดพื้นหลังหยาบๆ ออกมาครับ...

ภาพแสดงขั้นตอนการทำงานโดยใช้เพ้่นท์
XX อย่าทำหยาบแบบใกล้วัตถุที่ต้องการมากเกินไป ไม่งั้นแหว่ง
XX เวลาทำงานกรุณาทำในไฟล์ภาพที่เป็นตัว copy เพราะถ้าคุณทำในภาพจริงๆ...เราไม่รับประกันว่าคุณจะเสียภาพไปจากการมือไวในการกด ctrl+s
เมื่อคุณลากภาพอิสระแล้วต้องการจบการลากภาพ คลิกสองครั้ง
ทีนี้เราจะใช้วิธีเดียวกันในการทำละเอียดครับ การตัดละเอียดจะทำได้ละเอียดมากเพราะเราสามารถซูมภาพได้ถึง 8 เท่า คราวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้วครับ ความพยายามและความละเอียดอ่อนคือสิ่งที่ต้องการ
เราสามารถครอปละเอียดกันได้ถึงหวูดรถไฟ (แท่งที่เห็นอยู่ทางซ้าย) ถ้ามีความสามารถก็ลองครอปดูครับผม (มีเวลาว่างด้วย เหอะๆ)
Technik : ส่วนโค้งนูนของวัตถุที่เห็นมีเทคนิคโดยการลากเส้นตามส่วนโค้งครับ อาจจะไม่ต้องโค้งตาม แล้วเสร็จแล้วลากเส้นออกจากวัตถุ จะได้ขอบโค้งเนียนๆ ที่ไม่ถูกตัดครับ (ต้องเป็นโค้งนูนตลอด ไม่ใช่เว้าๆ นูนๆ)
ก็...ตามนี้ครับ อาจจะไม่เนียนเพราะติดกับชานชาลาครับ ทำให้กันชนด้านหน้าถูกตัดไปตามชานชาลาครับ ส่วนอีกจุดที่ยังแก้ไม่ได้คือเรื่องแสงเงานั่นเองครับ ถ้าอยากเนียนๆ ก็ลบด้วยสีดำ (หรือสีที่ดูดมาจากบริเวณกระจก) น่าสนุกครับ... แต่คงจะไม่เนียนแน่ๆ...

ลองดูอันนี้ค่อนข้างเนียนครับ ทำไว้นานแล้วพอสมควร บันทึกภาพที่สถานีอโศก ตัดรางออกนิดหน่อยก็จะสวยงามครับ ภาพนี้ไม่ได้ใส่ลิขสิทธิ์ไว้ ก็...ถ้าจะเอาไปใช้แล้วอ้างอิงเว็บไซต์นี้จะขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ

WORKETA
worketadirect(@)gmail.com