28 ส.ค. 2557

WORKETA Powerpaint Ep.3 : ไล่สีใน Powerpoint Gradient

<-- Powerpaint2 /// This Episode /// Powerpaint4-- >

-------------------
 สวัสดีกันอีกครั้งครับ เหมือนผมไม่ได้เขียนเว็บไซต์นานแล้วยังไงๆ ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ผู้เขียนก็มีธุระส่วนตัว บางทีก็จะทำให้วันที่โพสต์เลื่อนไปบ้างเล็กน้อย กลับมาแล้วกับ Powerpaint ครับ ครั้งนี้ powerpaint เราจะขอเสนอ "การไล่ระดับสี" หรือ Gradient กันเลยครับ
 ในวันนี้เราจะพูดถึงหนึ่งในการเติมสีให้กับรูปร่างต่างๆ ใน Powerpoint จะมีทั้งหมด 5แบบด้วยกันครับ
คลิกเพื่ออ่าน-->


 แบบง่ายที่สุด ไม่ต้องตั้งกำหนดสีเลยคือ 5. slide background fill 0. No fill แทบจะเหมือนกันครับ คือพื้นหลังใส อาจจะแตกต่างกันตรงที่เมื่อเรานำรูปที่มี slide background fill ไปวางทับบนแผ่นหรืออื่นๆ มันก็จะแสดงให้เห็นพื้นหลัง ราวกับว่าเป็นการทะลุเลเยอร์นั่นเองครับ (ผู้เขียนเองเพิ่งจะค้นพบตอนที่กำลังทำภาพประกอบเมื่อสักครู่เองครับ 555)


 พื้นฐาน 2.Fill color และ 4.Texture, Pattern, Photos fill เป็นพื้นฐานที่เราสามารถเลือกปรับแต่งได้เล็กๆ น้อยๆ ที่สำคัญคือการเลือกสีของ shapes หรือการกำหนดรูปแบบ สีสองสีใน Patternเป็นต้น ใน Fill color จะสามารถกำหนดความโปร่งของตัวสีได้ ในส่วนของภาพถ่าย ผู้อ่านสามารถปรับแต่งภาพถ่ายที่จะนำมาใส่ใน shapes ได้ โดยปรับได้ทั้งการจัดวางให้เหมาะสมระหว่างอัตราส่วนภาพถ่ายกับรูปภาพ และความโปร่ง (โดยเฉพาะในส่วนของการทำพื้นหลังเป็น Photos) [แทรก-->บทความเกี่ยวข้อง]
เราสามารถปรับให้รูปเข้ากับพื้นหลังได้โดยผ่านเมนูตั้งค่าพื้นหลัง ค่า + คือจะย่อให้รูปเล็กลง ส่วนค่า - จะขยายรูปใหญ่ขึ้น หรือจะยืดรูปออกไปได้ตามที่เราต้องการ บางครั้งรูปที่เรานำเข้ามาทำเป็นSlide Background อาจถูกปรับขนาดเองโดยอัตโนมัติ
 ครับ เรามาขึ้นเรื่องของ Gradient ซึ่งเป็นประเด็นหลักครับ เราจะผูดถึงรูปแบบต่างๆ ของ Gradient จะแยกเป็น 4 ประเภท เข้าไปที่ Shape fill จากนั้นเลือก more gradients ใน gradients ครับ
1.Linear เป็นแบบแนวเส้นตรง จะมีทั้งหมด 8 แบบ (2 แนวตั้ง 2 แนวนอน 4 แนวทแยง)
2.Radial เป็นรัศมีโค้งๆ กลมๆ จะมี 5 แบบ คือจาก 4 มุม และจากตรงกลาง
3.Rectangular ลักษณะเหมือนกับข้อ 2 แต่วงจะกลายเป็นสี่เหลี่ยมแทน จากสี่มุมและตรงกลาง
//ไม่ว่าจะเป็นรูปอะไรก็ตาม ก็จะมี 4 มุมให้เลือก
4.Path จะขยายจากศูนย์กลางออกไปข้างนอก โดยตามรูปทรงของภาพเลย
[เริ่มจากจุดศูนย์กลางตำแหน่ง0% ไปถึงข้างนอกตำแหน่ง100% ]
ตัวอย่างshapes ที่ลงด้วย Gradient ด้านบนจะแสดงถึงการตั้งค่าให้สีไล่ระดับหมุนตามรูปไปด้วย (Rotate with shape) โดยอันขวาบนไม่หมุนตามครับ ส่วนรูปห้าเหลี่ยมนั้นจะเป็นการลง gradient แบบ path ครับ
 ในการลงสี Gradient จะลงได้หลายสี และสามารถปรับตำแหน่งสีได้โดยการเลื่อนไปมาหรือการป้อนตัวเลขจำนวนเต็ม 0-100 ลงไปในช่อง (ตัว Office รุ่นก่อนๆ น่าจะทำได้แค่สามสี หรือน้อยกว่านี้ ถ้าจำไม่ผิด) นั่นเท่ากับทำ Gradient ได้สัก 101 สี ลองใช้เวลาทำแล้วจะโพสต์สัปดาห์หน้าแล้วกัน ส่วนแต่ละสีจะปรับค่า Transparency ของแต่ละสีได้ เราก็สามารถเลือกทำลายตัวเองได้ตามใจชอบครับ
 สำหรับ Preset color คือสี Gradient สำเร็จรูปที่มีอยู่แล้วในเครื่อง เมื่อเราคลิก เราก็สามารถจัดเลื่อนตำแหน่งสีได้อีกด้วย
สำหรับการสร้างสรรค์ Gradient เป็นBackground ง่ายๆ จะแนะนำให้ทำ Gradient ที่สีไปทางเดียวกัน คือทั้งแนวเส้นเดียว และโทนสีคล้ายๆ กัน ไม่ได้ห้ามว่าจะใช้สีคนละโทนใน Gradient ครับ แต่ที่แนะนำเพราะว่าการใช้สีต่างโทนมันอาจจะไปตรงกับสีตัวอักษรของสไลด์ได้ แล้วมองตัวหนังสือไม่เห็น

เราจะลองนำมาประยุกต์ใช้กับแนวรูปภาพ + Gradient กันเล็กน้อยครับ เราตั้งค่า background เป็นรูปภาพ จากนั้นก็สามารถใส่ gradient layer เข้าไปทับไว้ โดยอาจจะให้
โปร่ง 100% --> ทึบ 0% จะได้ออกมาตามด้านบนครับ ก็จะเห็นภาพค่อยๆ เลือนหายไปนั่นเอง (อาจจะเห็นภาพเบลอบางส่วนเป็นเอฟเฟคจากการตกแต่งภาพต้นฉบับแล้ว) หรือเราก็สามารถทำจาก โปร่งบางส่วน --> ทึบ 0% โดยถ้าทำจากโปร่งบางส่วนไปทึบ ควรลากสี่เหลี่ยมให้ครอบทั้งสไลด์นะครับ ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดขอบขึ้นครับ
----------------
ต่อไปจะเกี่ยวกับเรื่องอัตราการเปลี่ยนแปลงของสีครับ คือสีจะค่อยๆ เปลี่ยนหรือเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วก็ได้ขึ้นอยู่กับเราตั้งค่า ให้ลองเปรียบเทียบรูป Gradient ด้านล่างทั้งสามอันครับ

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมจึงไม่เหมือนกันทั้งที่เป็นสีเดียวกันแท้ๆ
 คำตอบคือตำแหน่งของสีทั้งสองสีครับ ใน Powerpoint สามารถเลื่อนตำแหน่งสีของ Gradient ได้อิสระในตำแหน่ง 0-100 % (จำนวนเต็ม) โดยช่วงที่เกิดการเปลี่ยนสีก็คือช่วงที่มีระยะห่างระหว่างตำแหน่งสีที่เรากำหนดไว้ครับ
 ภาพด้านบน เรียงจากซ้ายไปขวาจะได้ตำแหน่งสีต่อไปนี้ (ด้านบนคือ 0)
ภาพที่ 1 : 0/100 เกิดการเปลี่ยนสีในเขต 1-5
ภาพที่2 : 20/80 เกิดการเปลี่ยนสีในเขต 2-4
ภาพที่2 : 40/60 เกิดการเปลี่ยนสีเฉพาะในเขต 3
ก็จะสามารถทำความแตกต่างในตัว Gradient เองได้ ทั้งนี้ผู้อ่านก็สามารถปรับตำแหน่งที่ตัวเองชอบได้เหมือนกันครับ ลองนำไปสร้างสรรค์ผลงานดูครับ
(หมายเหตุ: การใช้ในกราฟก็สวยนะครับ แต่จะทำให้ไม่มีความแม่นยำในทางข้อมูล)
ในกรณีที่เราต้องการช่วง gradient น้อยๆ ก็ทำได้ครับ เช่น 49-51 ก็จะมีลักษณะที่เหมือนกับสีสองสีแบ่งครึ่งกันครับ
WORKETA STUDiO

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น