8 ก.ย. 2557

WORKETA Powerpaint Ep.4 : ขนมชั้น Epic Layer

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงการทำ Powerpoint แบบสวยๆ ง่าย กันนะครับ เรียกว่า ง่ายๆ สวยๆ ดีกว่า เราอยากจะนำเสนอทุกท่านกับการซ้อน Shapes ใน Powerpoint ครับ ก่อนอื่นเลย เราขอเข้าแปะลิงก์กันเล็กๆ น้อยๆ ครับ
->CLICK (ขำๆ)<- ภาพวาดต่อเติมหนังสือเรียนญี่ปุ่น Meanwhile in Japanese schoolbooks
--จริงๆ แล้วเนี่ย หนังสือเรียนญี่ปุ่นจะไม่มีราคา คือฟรี และก็จะให้นักเรียนเก็บรักษาไว้ ใช้อย่างถนอม แต่ก็นะ...
->CLICK<- รถไฟแม่เหล็กของญี่ปุ่น ยาว 12 ตู้... Japanese Maglev (linear motorcar) can connect up to 12-car length
-----
<-- Previous post (ประกาศรับสมัครทุนรัฐบาล) / This post / Next post (24/09) -->
<--Powerpaint ตอนที่แล้ว / ตอนนี้ / Powerpaint ตอนถัดไป -->
ประกาศ
วันที่ในการโพสต์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากตารางดังต่อไปนี้ ทางสตูดิโอขออภัยอย่างยิ่งในไม่ตรงต่อเวลา ในส่วนของวิดิโอรถไฟอาจมีบางกรณีที่มาก่อนวันเวลาที่กำหนดไว้
07 Aug --> 10 Aug
17,27 Aug --> 18,28 Aug
Unscheduled --> 30 Aug (Express annoucement)
07 Sep --> 08 Aug
17 Sep --> Cancelled
27 Sep --> 25 Sep
07 Oct --> On schedule
-----------------------------------------------


ครับ สวัสดีอีกครั้งกับเรื่อง Powerpoint ของเรา เราได้ผ่านการทำความรู้จักเล็กๆ น้อยๆ การกำหนดสีที่ดูเข้ากัน รวมไปถึงรูปแบบสีอื่นๆ นอกเหนือจากสีพื้น โดยเราค่อนข้างเน้นสีไล่ระดับ(Gradient) รวมไปถึงสีพื้นที่มีความโปร่งใส คราวนี้ผมจะขอพูดถึงการนำทุกอย่างมารวมๆ กันครับ
ก่อนอื่นเราจะมาเริ่มกันที่ Gradientสองเลเยอร์กันครับ

  จากภาพเราจะเห็น Gradient 5 รูปครับ คือสีต้นปลายเหมือนๆ กัน แต่จะเห็นว่ามีลายที่แตกต่างกัน??? ครับ (เรียง 1 อยู่ด้านซ้าย ไปถึง 5 ทางด้านขวา) 1 3 5 จะคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะ 3 5 ส่วน 2 4 จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือจะสังเกตความแตกต่างได้ โดยทางผู้จัดทำสไลด์ยืนยันได้ว่าทุกรูปแตกต่างกันครับ โดยเราจะมาเริ่มกันที่
  1.รูปนี้คือ Shape ที่มี Gradient ปกติ ตั้งค่าด้านบนสีน้ำเงิน ด้านล่างสีชมพู 0%/100%
ในรูป 2-5 เกิดจากสี่เหลี่ยมเท่ากันทุกประการมาซ้อนกันสองรูปครับ โดยแต่ละรูปจะมีสีต่างกันเล็กน้อย
   รูป 2,3 เราได้จัดให้ด้านหลังเป็นสีน้ำเงิน ข้างหน้าจะเป็น ใส(Transparent 100%)0%-->ชมพู100% และพื้นหลังของ 2 คือสีน้ำเงิน(เข้ม)ตำแหน่ง0% --> ใสตำแหน่ง100% ส่วนพื้นหลังรูป 3 จะเป็นสีน้ำเงินทั้งหมด
   รูป 4,5 เราได้จัดให้ด้านหลังเป็นสีชมพู ข้างหน้าจะเป็น ใส(Transparent 100%)100%-->น้ำเงิน0% และพื้นหลังของ 4 คือสีชมพู(เข้ม)ตำแหน่ง100% --> ใสตำแหน่ง0% ส่วนพื้นหลังรูป 5 จะเป็นสีชมพูทั้งหมด

(น้ำเงิน↔ชมพู เปลี่ยนกันหน้าหลัง)

   จะเป็นรายละเอียดเล็กๆ ที่เราอาจจะต้องใช้การสังเกตกันเล็กน้อยครับ มันก็เหมือนจะเขียนออกมาเป็นทฤษฎีได้ครับ ในรูปที่ 1 ที่เป็น Gradient แผ่นเดียวนั้น ไม่มีการซ้อนแผ่นกัน ตรงกลางมันก็จะเป็น 50/50 เข้มๆ ของทั้งสองสีครับ ส่วนรูป 2/4 ตรงกลางจะเป็นสีใส 50% แทนครับ คือถ้าแยกออกมามันก็จะเป็นส่วนที่มีความใส 50% ของทั้งสองสี แต่มันจะไม่เข้มเหมือนกันรูป 1 ครับ มันจะมีส่วนโปร่งบ้าง ส่วนรูป 3/5 ก็จะมีพื้นหลัง(สีเดียว)ที่เข้มโดยตลอด ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลง Gradient ของเลเยอร์ด้านหน้าครับ อาจจะเห็นไม่ค่อยชัดก็เถอะ...
------
   ในการที่เราจะจัดเรียงลำดับหน้าหลังของรูปภาพ ไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ คลิกขวาที่รูป แล้วก็เลือกไปข้างหน้าข้างหลังได้ครับ โดยจะมีสี่แบบ
Send to back / Bring to front : คือการส่งไปข้างหลังสุด กับ ข้างหน้าสุด คือไปสุดเลย
Send backward / Bring forward : คือการเลื่อนลำดับหน้าหลังไปเพียง 1 ลำดับ จาก Shape ทั้งหมดภายในสไลด์นั้นๆ คือเราจะต้องดูลำดับก่อนหลังที่เราสร้าง Shape แต่ละอันขึ้นมา
   ถ้ามี 5 รูป ให้ 1 คืออันที่เก่าสุด อันที่ 5 ที่ใหม่สุดนั้นจะอยู่ในชั้นหน้าสุดครับ ถ้าเราจะย้าย 5 โดย
//Send to back จากชั้น 1 2 3 4 5 จะเปลี่ยนเป็น 5 1 2 3 4
ในขณะที่ //Send backward มันจะเปลี่ยนเป็น 1 2 3 5 4 ครับ
   ทางผู้เขียนเองก็แนะนำให้ลองใช้แบบ Send to back / Bring to front จะสะดวกกว่ามากครับ
ในกรณีของ Microsoft office word จะมี Bring in front of text / Send behind text เข้ามาด้วย ซึ่งก็เพราะว่าข้อความอยู่แยกคนละชั้นกับ Shapes ครับ 

โดยแน่นอนว่าข้อความก็มีเพียงชั้นเดียวเหมือนกับเป็นเส้นคั่น ถ้าเราลองจินตนาการให้หน้าจอมีความลึก อาจจะเห็นภาพได้ชัดขึ้นมากทีเดียว
ตัวอย่าง background ที่เกิดจากการซ้อนรูปกัน

พื้นหลังนี้เกิดจาก Gradient background Main สีเหลืองส้ม กับ พื้น Gradient สองอันที่มีส่วนใสครับ

   ส่วนรูปนี้เป็นการทำสไลด์เกือบกึ่งสำเร็จรูปครับ จะเห็นว่าพื้นหลังจริงๆ เป็น Pattern fill ครับ จากนั้นจึงนำ Gradient สีเดียวกับ Pattern (เพียงสีเดียว) ใส่ลงไป ส่วนหัวข้อและข้อความก็ทำเป็นสีที่มี Transparent เล็กน้อยครับ
   เสร็จแล้วหละครับ ทีนี้เวลาที่เราอยากจะเซฟไว้เป็นพื้นหลังของตัวเอง ก็สามารถเซฟสไลด์โดย File > Save as > .Png ได้เลยครับ แต่จะได้เพียงแค่มิติ x1280 โดยประมาณ ในกรณีที่อยากได้ภาพใหญ่ๆ ก็สามารถใช้ขนาดหน้าจอของตัวเองได้เลยโดยการ Slide show และกดปุ่ม Print screen ในทันทีครับ แนะนำให้ใช้ขนาดอัตราส่วน Powerpoint ที่พอดีกับอัตราส่วนหน้าจอครับ

WORKETA
ติดต่อสอบถาม worketadirect@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น