18 พ.ย. 2557

WORKETA วิชาการ JM2: การเล่นคำ ภาษา ในคณิตศาสตร์

   สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน กลับเข้ามาสู่วิชาการกันอีกรอบครับ เดือนนี้ตัดโพสต์เหลือแค่ 2 โพสต์ครับ ผู้เขียนยุ่งและวุ่นวายในหลายๆ เรื่อง แต่เมื่อเราพร้อม เราก็เดินหน้าเขียนเว็บต่อไป
   หลังจากที่บล็อกของเราได้มาอยู่ที่ญี่ปุ่น เราได้พัฒนาไปอีกขั้นก็แค่วิดิโอรถไฟ รถไฟญี่ปุ่นเยอะจริงๆ คนญี่ปุ่นเองบางทีก็หลงหละครับ ต่อไปเราก็จะเริ่มพัฒนาอีกขั้นของบล็อก หลังจากที่เราเขียนเกี่ยวกับเรื่องการประยุกต์โปรแกรมคอมพิวเตอร์กับข้อมูลฮาๆ อยู่นาน เราก็ขอเสนอเรื่องญี่ปุ่นบ้าง ในวันนี้ขอเสนอโจทย์คณิตศาสตร์ที่ต้องตีความโจทย์ให้กระจ่าง โดยหลักอยู่ที่อธิบายว่าโจทย์กำลังทำอะไร และก็เป็นเรื่องของปัญหาภาษากันเล็กน้อย ถ้าใครที่อยากจะเรียนต่อญี่ปุ่น ในวันนี้ผมขอแนะนำข้อ 3 (และข้อ 1 ของเมื่อครั้งที่แล้ว) ครับ ครั้งนี้เป็นโจทย์ดัดแปลงเอง

<-- Previous post / This post / Next post -->
<-- Last academic post โพสต์วิชาการครั้งที่แล้ว JM1
โพสต์วิชาการตอนถัดไป JM3 -->
-----------

ในโจทย์ปัญหาของวันนี้ จะไม่นำข้อสอบจริงมาลงเหมือนครั้งก่อน ทางเราได้ทำการดัดแปลงข้อสอบมาจากตัวข้อสอบจริง พยายามคิดให้มันได้คำตอบและให้มันไม่เกิด Bug ภายในตัวเอง
เราจะมาดูกันที่ข้อ 2 กันเลยครับ

2. ระบบที่นั่งรถไฟด่วนพิเศษรุ่นใหม่ มีทั้งที่นั่งอิสระ(นั่งตรงไหนก็ได้) และที่นั่งจองล่วงหน้าปะปนกันไปหมด โดยถ้าเลือกที่นั่งอิสระ สามารถนั่งตรงไหนก็ได้ แต่ถ้าสมมติว่าที่นั้นถูกจองไว้แล้ว โดยผู้โดยสารขึ้นระหว่างทาง จะต้องสละที่นั่ง และต้องหาที่นั่งอื่นที่ยังคงว่างอยู่ สมมติให้รถไฟขบวนนี้มีที่นั่งว่างตลอดเส้นทาง
นาย A นั่งรถไฟด่วนไป 7 สถานี (รวมสถานีต้นทางและปลายทาง) จงหาความน่าจะเป็นที่เขาจะต้องลุกเปลี่ยนที่นั่ง 2 ครั้ง








ภาพจาก http://livedoor.blogimg.jp/studio_loas/imgs/e/7/e7d9ed8f.jpg
เข้าใจโจทย์กันไหมครับ? เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่คิดโดยญี่ปุ่นครับ จะอธิบายอีกรอบก็คือเราจะนั่งจรงไหนก็ได้ แม้จะเป็นที่ที่ถูกจองไว้ แต่เมื่อผู้จองที่นั่งมาถึงก็จะต้องลุกออกจากที่นั่งครับ ในโฆษณาบอกว่าเป็นระบบที่ง่ายดายกว่าเดิม...ส่วนตัวผู้เขียนเองคิดว่ามันเป็นระบบที่ยุ่งยากและอาจทำให้มึนๆ งงๆ ได้...ซะงั้น...หรือถ้าหากว่าย้ายที่นั่งไปแล้วเจอที่นั่งที่ถูกจองไว้อีก...จะเป็นอะไรทีต้องลุกกันตลอดเลยครับ แต่ความจริงมันจะมีสัญญาณสีบอกว่า เก้าอี้ว่าง - คนจองจะขึ้นที่สถานีต่อไป - จองแล้ว เป็นลักษณะนี้ครับ ซึ่งโจทย์ข้อนี้จะไม่คิดครับ

----------------
เราจะมาต่อกันด้วยข้อสอบแนวๆ ที่ญี่ปุ่นชอบออกอะไรแปลกๆ มากันดีกว่าครับ
ก.เงื่อนไขเพียงพอต่อการหาค่า X Y ตามต้องการ
ข.มีเงื่อนไขเพียงพอ แต่ก็มีเงื่อนไขที่ไม่จำเป็น
ค.ทุกเงื่อนไขจำเป็น แต่มีเงื่อนไขไม่เพียงพอ
ง.เงื่อนไขไม่เพียงพอ และเงื่อนไขบางตัวไม่จำเป็นอีกต่างหาก

จ.เงื่อนไขขัดแย้งกันในตัวเอง
----------------------------------------
ส่วนตัวผู้เขียนเองก็ถือว่าข้อสอบค่อนข้างยากนะครับ และผู้เขียนเองก็ไม่ค่อยมีฝีมือในการออกข้อสอบเท่าไหร่นัก จึงส่งผลให้ข้อ 3.1 และ 3.2 ตอบ___ ส่วนข้อ 3.3 ก็เห็นชัดเจนว่าตอบ ___ ครับ แต่นี่เป็นแนวข้อสอบกลางสำหรับนักเรียนต่างชาติที่จะเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นมักจะนำมาออกเรื่อยๆ ทำได้ แต่บางทีอาจจะตีความตัวเลือกภาษาญี่ปุ่นไม่ออกก็มีโอกาสไม่น้อยครับ

ในข้อสุดท้าย ข้อที่ 3.14 ครับ หลายๆ คนคงจะเคยเห็นบทพิสูจน์ 1=2 กันมาบ้างแล้ว คราวนี้ผมได้อ่านเจอบทพิสูจน์ว่า Piπ=3 (π อัตราส่วนของเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลางวงกลม) เป๊ะๆ ครับ เป็นการพิสูจน์เชิงพีชคณิตที่ค่อนข้างเกรียนทีเดียวครับ ผู้อ่านสามารถจับได้หรือไม่ครับว่าข้อนี้มีจุดผิดตรงไหนบ้าง ไม่เฉลยครับ บอกแค่ว่า "ผิดเต็มไปหมดเลย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น