4 ต.ค. 2567

รางรถไฟเก่า YAWATA แถวบ้าน 実家近くで見つけた、八幡製鐵所の古いレール

 เดินเล่นแถวบ้านที่สถานีสามเสน แล้วไปสะดุดตากับสิ่งหนึ่งครับ
 今日は、バンコクの実家近くで見つけた、古いレールを転用した、
電柱らしきものを紹介します。その古いレールにはある文字列が刻まれました。


 นี่เป็นเสาโทรเลขที่อยู่ริมทางรถไฟ ซึ่งดูจากรูปทรงแล้วก็พอทราบได้ว่าเป็นรางรถไฟเก่าที่นำมาทำเป็นเสาโทรเลข (แน่นอนว่าปัจจุบันไม่มีโทรเลขแล้ว แต่ก็ยังเรียกเสานี้ว่าเสาโทรเลข) เมื่อสังเกตตัวอักษรที่อยู่บนหมายเลขแล้ว ได้ความว่า
 ここはタイ国鉄本線のすぐそばで、その電柱も線路と並行して設置されています。はい、これはタイ国鉄専用の電報柱でした。電報は10数年前に廃止されていますが、今でも電報柱と呼ばれています。その古いレールに刻まれた文字列は…

25. R.S.R. YAWATA -Ⓢ- 1936. O.B

 R.S.R. นั่นคือชื่อย่อของ Royal Siam Railway ซึ่งคือชื่อเดิมของรถไฟหลวงในสมัยนั้น ก่อนมาเป็น SRT ในปัจจุบัน ส่วนหมายเลข 1936 คงเดาได้ไม่ยาก ว่าเป็นปีที่รางรถไฟเส้นนี้ถูกผลิต

ว่าแต่ "YAWATA" คืออะไร...

23 ก.ย. 2567

รถไฟมือสองที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศญี่ปุ่น

   สวัสดีผู้อ่านทุกท่านครับ วันนี้จะมาเล่าเรื่องรถไฟมือสองครับ

   หลายๆ ท่านคงจะได้ยินข่าวช่วงนี้เรื่อยๆ เกี่ยวกับรถไฟมือสองของไทยที่ได้จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจริงๆ แล้วการหมุนเวียนรถไฟมือสอง เกิดขึ้นอยู่ทั่วโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าญี่ปุ่นจะให้รถไฟมือสองแก่หลายๆ ประเทศในภูมิภาค ASEAN หรือนอกจากญี่ปุ่นเองก็มีอย่างเช่น รถไฟ Intercity 125 ของอังกฤษเอาไปวิ่งต่อมือสองในอเมริกาใต้หรือแอฟริกา หรือการโอนย้ายรถไฟความเร็วสูงข้ามประเทศที่เกิดอยู่บ่อยๆ ในโซนยุโรป แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเอง ก็มีการหมุนเวียนรถไฟมือสองอยู่ตลอดเวลา วันนี้จึงขอรวบรวมการหมุนเวียนรถไฟมือสองที่เกิดขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่นให้อ่านกันครับ

   ก่อนอื่น รถไฟญี่ปุ่นบางบริษัทมีโครงข่ายครอบคลุมหลายจังหวัด บางครั้งรถไฟก็จะมีการถูกโอนย้ายเส้นทางหรือจังหวัดที่ประจำการอยู่ แต่ในกรณีที่ยังคงอยู่ในบริษัทเดียวกันนั้น ขอถือว่าไม่เป็นรถไฟมือสองละกันครับ รถไฟมือสองในที่นี้จะหมายถึงรถไฟที่ถูกย้ายจากบริษัทหนึ่งไปยังอีกบริษัทหนึ่ง


"รถไฟชนบท" (Chiho Tetsudo)

Kumamoto Electric Railway สถานี Kita-Kumamoto
ซึ่งรถไฟเกือบทั้งหมดเป็นรถไฟเก่าจากรถไฟฟ้าใต้ดินในโตเกียว

19 พ.ค. 2567

登録者1000人記念「日本全国1000系電車」制作の舞台裏②

WORKETA です。
    すでにXで報告しましたが、10年間留学しました日本を離れ、4月からタイに永久帰国しました。

 なお、登録者1000人を記念した動画日本全国1000系動画」は無事に公開され、年末に「ノーカット版」も公開しました。本編よりも長いにもかかわらず、多くの方に視聴していただき、本編より伸びちゃいました!

 その効果もあって、本編も若干伸びました。ノーカット版は最初から編集し直していたので、やっててよかったです。まあ、音楽を付ける必要はないので、ノーカット版の方が編集しやすかったですが。

 製作の舞台裏①は本編公開2か月前に出した記事ですが、その後どうなったか、軽く話します。

 沖縄のモノレールも1000形だったことに気が付き、モノレールを撮りにいくためだけに沖縄でも上陸するか…でも、皆さんと約束しましたし、東京や大阪のモノレールの映像も揃ったので、片付けましょうと。モノレールのためだけに沖縄に飛びました。おかげで日本にいる間に全都道府県に踏み入れることができましたね…

 その後は東京で用事があるついでに、残った車両を撮り、お盆休みは只見線乗り鉄のついでに仙台まで行き、仙台地下鉄の映像を撮って、これで神戸地下鉄1000形を除いて映像が揃いました。

 神戸地下鉄1000形、実は諦めかけました。2023年のお盆明けに定期運用終了が決まっていたからです。以前関西に用があった時も待ち受けましたが、なかなか来てくれませんでした。

最後の最後に奇跡

 しかし、奇跡が起きたのです。

 夏休みに仙台まで北上し、地下鉄1000形を撮りに、その後は只見線に乗り鉄に行きました。その日は只見線以外のローカル線も乗り継いで長野まで来ました。本当は長野に泊まる予定でしたが、ちょうど台風が来そうで、どう逃げればいいか迷いましたが、運よく長野から大阪まで夜行バスを見つけました。

 翌朝、大阪駅に着いて、福岡に戻るところですが、最後の運試しで神戸地下鉄を見に行かないか?と思い付いたのです。

 ただ、先に新幹線の時間を決めてしまったので、新神戸で見張れるのはたった30分しかありませんでした。それが神戸地下鉄1000形に、引退数日前に出会えた奇跡の瞬間でした。(ちなみに北神急行7000系も撮れました)

 以上、日本全国1000系電車を撮りに行った物語でした。

編集のプチ雑談 (追記)

 本編では各形式を紹介しました。文字だけじゃつまらないので、簡単なシンボルを作りました。3色を使って各形式を表現しました。モノレール・新交通はライトレールを意味するLを使ったシンボルにしています。

 本編はこのチャンネルならではのスタイルで、音楽に合わせて編集しました。

「だらだら計画」に反省

 登録者1000人記念動画が公開された頃には、もう登録者が1100人近くまで伸びていました。大学院生だからなかなか忙しくて遊びに行けない、なんという言い訳にしたかったのですが、まず撮影計画が甘かったのも1つの原因でした。

 この計画自体が始まったのは2021年夏でした。そこでも何本か映像をかき集めることができました。2022年夏までの間、関西や東京も何回か行きました。早いうちに撮っておけば、2023年にもう一回行かなくて済んだなと…少し後悔しました。

 関西や東京は何回行っても楽しいかもしれませんが、遠征回数が増えれば、旅費もどんどん無駄になっていくからです…だから、計画はもう少し長期的に立てると良いでしょう…

 まあ、2022年までは、個人趣味で乗り鉄もしていて、朝から晩まで乗り鉄計画が詰まっていたのも仕方ないかもしれません。でも結局、乗り鉄においても、特に完乗を目指す方は、1回あたりの旅行の日数を長くすれば、それだけたくさんの路線がいっぺんに乗りつぶしができますよね。同じことでした…

 計画はもう少し長期的に立てましょう(大事なので繰り返しました。)

誤った見積もり

 途中で、そもそも登録者1000人はいつ頃達成するだろう…と気になって、登録者数の推移をプロットし、1000人達成時期もそこから簡易予測しました。左は年ごとの登録者数、右は達成時期の予測です。(横軸 0年 = 2012年)

 平均すると、年間で登録者数が90-100人増えていました。ピークは2019年で、本来なら2021年内に1000人に達成できる見込みでした。しかし2020年以降は成長が鈍化しました。ここから回復しようと、1000人感謝計画を実行するきっかけにもなりました。

 そして2022年後半に、突然の追い風がやってきました。


 Shorts 動画がバズったからです。バスコレクションを3台積み重ねて走らせた、ちょい遊んだだけの動画でしたが、多くの方にウケていただきました。1か月間で登録者数が30人も増え、2022年末に登録者1000人に達成することができたのです。

やっぱりYouTubeって不思議ですよね…

 これまでの動画も、実は何年間も置いたままにして、突然視聴回数が伸びた動画もありました。理由はきっと色々あるでしょう…

 2021年に新しく展開された Shorts 動画も、瞬間的に視聴回数を伸ばす効果があって、上手く使えば長い動画の予告編および登録者の呼び込みとしても効果的でした。また、瞬間で視聴回数が伸びた Shorts だけでなく、なぜか伸び続けた Shorts もあります。現在の僕のチャンネルは、年間で登録者数が150人以上伸びていて、2022年以前の平均値よりよく伸びました。

 自分のYouTubeの統計を分析することによって、今回の動画計画が甘かったことも反省していますが、分析すればするほど、YouTubeは面白いものですね…また時間があれば具体的に紹介したいところです。



9 มี.ค. 2567

JAPAN RAIL PASS ขึ้นราคาเหรอ... งั้นลองนี่สิ Seishun 18 Ticket !!!


หลังจากที่ Japan Rail Pass ประกาศขึ้นราคาตามค่าครองชีพในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากเดือนตุลาคม 2023 เป็นต้นไป...



การขึ้นราคาของ Japan Rail Pass ในครั้งนี้ ถ้าคิดเป็น % แล้วก็ถือว่าขึ้นกันแบบกระอักเลือดพอสมควร ทั้งนี้ การขึ้นราคาของ JR PASS ในครั้งนี้ จะสามารถให้ผู้โดยสารนั่งรถไฟชินคันเซ็น Nozomi ได้จากเดิมที่นั่งไม่ได้ (โดยมีค่าที่นั่งเพิ่มเล็กน้อย....) 

เดิมทีแล้ว รถไฟด่วนพิเศษ Nozomi เปิดการเดินรถขึ้นมาในคอนเซปต์ว่าออกโตเกียว 6 โมงเช้า ไปทันประชุม 9 โมงเช้าที่โอซาก้า ในช่วงปี 1992 ที่เริ่มให้บริการ Nozomi นั้น ก็มีรถไฟบางขบวนที่ไม่จอดแม้กระทั่ง Nagoya, Kyoto เลย ซึ่งในสมัยนั้นก็มีรถ Nozomi เพียงชั่วโมงละไม่กี่ขบวนเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน Nozomi มีให้บริการมากถึงชั่วโมงละ 12 ขบวนในช่วงเทศกาลที่หนาแน่นที่สุด ทำให้มีรถไฟความเร็วสูงออกวิ่งในความถี่สั้นที่สุดที่ 3 นาทีซึ่งเป็นความถี่ที่บ้าคลั่งมากเพราะว่ารถไฟฟ้าสายรอบเมืองในโตเกียววิ่งทุกๆ 4 นาที รถไฟชานเมืองเข้าโตเกียวก็มีแค่ทุกๆ 10-15 นาที ทำให้เวลารอรถไฟเข้าเมืองก็ได้แต่ยืนหัวเสียว่าเมื่อไหร่รถไฟชานเมืองจะมา ในขณะที่ชินคันเซ็นวิ่งผ่านหน้าไปแล้วสองขบวน... สามขบวน...

คั่นรายการ : พิพิธภัณฑ์ Maglev & Shinkansen ที่ Nagoya

ผมเองก็ไม่เคยมีโอกาสใช้ Japan Rail Pass เลย เลยอยากทราบเหมือนกันครับว่าแต่ละท่านที่มาท่องเที่ยวญี่ปุ่นเลือกใช้ Japan Rail Pass ในโอกาสใดบ้างครับ ?

26 ม.ค. 2567

Worketa Ramen Review Ep.4 : 500 Yen ประทังชีวิต

◇ PART 1 ◇ PART 2  PART 2.2  PART 3  PART 3.2 


เมื่อตระเวนกินราเมงกันอิ่มแล้ว ก็กลับมาเปิดกระเป๋าสตางค์ดู พบว่าเหลือเงินเพียงแค่ 500 เยนเท่านั้นเอง...

NO RAMEN, NO LIFE! มีเงินเพียงเท่านี้จะกินราเมงอะไรประทังชีวิตได้??

วันนี้เราจะพามารู้จักกับร้านราเมงที่มีราคาต่ำกว่า 500 เยน ซึ่งมันมีจริงๆ ในเมืองแห่งราเมงซุปกระดูกหมู Fukuoka แห่งนี้

เพราะลองคิดดูอีกทีสิครับ ข้าวหน้าเนื้อที่เป็นอาหารฟาสต์ฟูดที่หาได้ทั่วไปในญี่ปุ่น ราคามาตรฐานยังอยู่ที่ 400 เยนเลย แล้วทำไมราเมงซึ่งก็เป็นอาหารชาวบ้านเหมือนกับข้าวหน้าเนื้อควรจะมีราคาถูกแพงสักแค่ไหนกัน...

Hakata Ramen "ZEN 膳" ¥320

ร้านราเมงชามละ 320 เยน โดยร้านนี้ไม่ได้เป็นร้านที่อยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่จะอยู่นอกเมือง ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ราคาถูกด้วย

ซุปนั้นรสชาติไม่ได้เข้มข้นมันเหมือนกับร้านราเมงชื่อดังในตัวเมือง แต่ความอ่อนโยนของมันก็มีความกลมกล่อมในตัว ตอนนั้นที่ลองกินครั้งแรกแล้วรู้สึกได้เลยว่ามันมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากๆ เมื่อพูดถึงราเมงรสชาติไม่เข้มข้น อาจจะนึกถึงราเมง Nagahama-ya ที่เกือบจะเรียกได้ว่าข้าวต้มหมูสับ แต่ ZEN Ramen นั้นจะเข้มกว่า


Black Garlic Oil Ramen พร้อมทอปปิ้งไข่ในราคาเพียงแค่ 480 เยน สำหรับคนที่ต้องการรสชาติและสีสันเพิ่ม ไม่น่าเชื่อเลยว่านี่ก็เพียงแค่ 500 เยน... และมีเงินทอนเหลือ!!!

สำหรับร้านราเมงนี้สาขาที่อยู่ใกล้เมืองที่สุดจะเป็นสาขา Hakozaki ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน Hakozaki-Kyudai-mae อีกสาขานึงขอแนะนำสำหรับคนที่อยู่แถวๆ Kyushu University Ito Campus นั้นจะมีสาขา Susenji ใกล้ๆ กับมหาฯลัยครับ

Hakata ya はかたや ¥290

ไม่น่าเชื่อว่ายังคงมีอาหารนอกบ้านในราคาเพียง 290 เยนให้กินกันในยุคสมัยที่อะไรๆ ก็แพงไปหมด ส่วนตัวผมคิดว่าราเมงเข้มกว่าของ Zen รสชาติให้ความเป็นมาตรฐานของ Hakata Ramen อย่างดี

Hakataya ที่เดินทางสะดวกก็คงจะเป็นในเขต Kawabata กับติดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน Nishijin (สถานีไป Fukuoka tower)

Rakusho Ramen 楽勝ラーメン ¥390

ราเมง 390 เยน ร้านเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในตรอกใกล้ๆ กับ Shintencho arcade ใน Tenjin


ถ้าเทียบกับสองร้านที่ผ่านมา เห็นได้ชัดเจนว่าเนื้อหมูต้มเป็นแบบชิ้นหนาแบบหมักซอสมา และสีของน้ำซุปก็ค่อนข้างแตกต่างกัน

รสชาตินั้นก็ไม่ได้เข้มไปไม่ได้จืดไป เหมาะกับในราคา 390 เยน ส่วนตัวแล้วผมแนะนำเกี๊ยวซ่า (ซ่อนอยู่หลังถ้วยราเมงในรูป) ซึ่งร้านนี้ทำเกี๊ยวซ่าเอง และมันอร่อยกว่าร้านอื่นๆ เท่าที่เคยกินมาครับ

นักท่องเที่ยวทั่วๆ ไปคงไม่กล้าที่จะเข้าร้านลึกลับ(และเมนูก็มีแต่ภาษาญี่ปุ่น)แบบนี้หรอก แต่ด้วยความที่เป็นคนเจ้าถิ่นเดินผ่านอยู่บ่อยๆ แล้วก็ต้องขอลองดูสักหน่อย... 

Marutai Ramen in LOCAL SUPERMARKET !!!

マルタイラーメン ¥150~



และนี่คือคำตอบสุดท้ายสำหรับคำถามว่า เหลือตัง 500 เยนแล้วจะกินราเมงอะไรอร่อยๆ ได้

ใช่แล้ว Marutai Ramen เป็นราเมงกึ่งสำเร็จรูปของคิวชูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากคนท้องถิ่น จุดเด่นคือจะเป็นราเมงแบบแท่งตรงๆ เหมือนสปาเกตตี้ ไม่ได้ขดเป็นก้อนเหมือนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอื่นๆ ซึ่งราเมงเส้นตรงนั้นก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Hakata Ramen นั่นเอง

ราเมงแบบแพ็คนี้จะมาทีละสองชุด อาจจะกินสองคน กินสองวัน หรือจะจัดชามใหญ่คนเดียวก็ได้ มาพร้อมกับผงปรุงรสและน้ำมันราเมง วิธีทำก็เหมือนกับทำมาม่าโดยใช้หม้อต้ม โดยราเมงสนนราคาเริ่มต้นเพียง 150 เยน ถ้าเป็นแบบราเมงประจำจังหวัด ご当地ラーメン จะอยู่ประมาณ 200 กว่าเยน เหลืออีก 300 กว่าเยนก็เอาไปซื้อหมูชาชูแพ็ค ไข่ต้ม ใส่ผักตามที่ตัวเองชอบลงไปเลยครับ

โพสต์นี้เป็นโพสต์พาไปตะลอนหาราเมงที่อร่อยที่สุดใน Fukuoka แต่เรากลับมาที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็คงเป็นความรู้สึกแปลกๆ สำหรับผู้อ่าน แต่การได้เรียนรู้ว่าคนท้องถิ่นจริงๆ กินอะไรกันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี กินราเมงแล้วติดใจก็เอากลับไปเป็นของที่ระลึกทำเองต่อที่บ้านเลย คนที่อาศัยอยู่ในฟุกุโอกะก็เช่นกันครับ ลองทำราเมงในสูตรของตัวเองดูครับ