24 ก.พ. 2559

ทำยังไงถ้ารถไฟฟ้าเสีย

   สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ในขณะที่เว้นว่างจากการเขียนบล็อกมานาน ก็กำลังวางโครงเรื่องอยู่ว่าจะเขียนเกี่ยวกับอะไรดี จนวันนี้

   เจ้าสิ่งนี้ก็เป็นประเด็นจนได้... เมื่อรถไฟฟ้าเสีย ส่งผลกระทบทำให้หลายๆ คนไปทำงานสาย หรือไปทำงานไม่ได้กันบ้าง ยังไม่ได้อ่านข่าว แต่เห็นเขาก็บอกกันว่าเป็นประแจสับรางเสีย (point failure?)
   ผมอยู่ที่ญี่ปุ่นผมก็ไม่เดือดร้อนอะไรหรอก สมัยผมอยู่ที่ไทย อย่างที่ทราบบ้านผมไม่มีรถไฟฟ้าผ่านครับ แต่จะว่าไป ที่ญี่ปุ่นมีรถไฟฟ้าเป็นสิบๆ สาย ก็เลยขออธิบายรถไฟฟ้าญี่ปุ่นหากว่ามันเกิดกรณีเดียวกันครับ ผู้อ่านคงจะเคยได้ยินว่ารถไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นตรงต่อเวลามากๆ ครับ
   จริงครับ ในวันปกติ รถไฟฟ้าก็มาเวลาเดิมๆ คนส่วนใหญ่จะจำเวลารถไฟฟ้าขอ
งตัวเองได้ครับ เพราะรถไฟฟ้าที่นี่ไม่ได้ไปๆกลับๆ แค่หมอชิต-แบริ่ง...
   บางบริษัทรถไฟฟ้าจะมีรถจอดทุกป้าย รถเร็ว รถกึ่งด่วน รถด่วน รถด่วนพิเศษ รถด่วนพิเศษทำงาน เต็มไปหมด ซึ่งทุกชนิดก็จะจอดไม่เหมือนกัน (จากจอดทุกสถานีไปจนจอดแค่สามป้าย) รวมไปถึงการมีรถไฟหลายบริษัทร่วมบริการในรถไฟฟ้าใต้ดินครับ ทำให้นอกจากมีหลายประเภทแล้วยังมีหลายปลายทางอีกด้วยครับ (ถ้าผิดขบวนก็อาจโดนทิ้งไว้กลางทางหรือแยกไปอีกเส้นทาง...)
(คลิกเพื่อขยาย)ตัวอย่างของรถไฟฟ้าใต้ดิน Toei Asakusa เชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ ไปถึงแหลมมิอุระ โยโกฮาม่า หรือจนไปถึงท่าอากาศยานทั้งนาริตะและฮาเนดะ
ไม่ต้องกังวลว่าคุณจะนั่งผิด คนญี่ปุ่นเองก็นั่งผิดได้เช่นกัน โดยคนญี่ปุ่นมักจะใช้แอพพลิเคชั่นช่วยเช็คสายรถไฟในการเดินทางไปที่ต่างๆ (แม้แต่เจ้าหน้าที่เองก็ใช้)

พิมพ์ชื่อสถานีต้นทางปลายทาง เท่านี้ก็จะได้เส้นทางออกมา
...เข้าประเด็นในวันนี้ จะเห็นว่าตารางเวลาที่แน่นอนขนาดนี้ถ้าเกิดรถไฟฟ้าดีเลย์ขึ้นมาก็อาจจะพลาดได้ แล้วรถไฟฟ้าญี่ปุ่นมีหลายสายขนาดนี้ มันดีเลย์บ่อยแค่ไหน
   แล้วแต่วันครับ สาเหตุนั้นก็หลากหลายทีเดียว
-->ถ้าวันไหนคนแน่นกว่าปกติ หรือมีพวกที่ชอบวิ่งขึ้นตอนประตูกำลังปิด(อาจโดนหนีบ เสียเวลาเขาเปิดปิดให้ใหม่) ก็อาจจะทำให้ช้าสัก 1-2 นาที (คนยังขึ้นไม่เสร็จแต่ขบวนต่อไปกำลังมา)
-->ผู้โดยสารทะเลาะกัน อาจจะเพิ่มเป็นสัก 5 นาทีให้เจ้าหน้าที่มาเคลียร์
-->ตรวจสอบความปลอดภัยเวลามีอะไรผิดปกติ..บางทีคนขับหรือผู้โดยสารอาจจะพบอะไรผิดปกติ จะทำการเบรคฉุกเฉิน ซึ่งถ้าหากเป็นรถ JR ที่มีหลายสายขนานกันจะส่งสัญญาณให้ทุกขบวนแถวๆ นั้นจอดกระทันหันตามไปด้วย
มีหลายทางก็แบ่งๆ กันแน่นไป แต่ถ้าจอดก็จอดหมด
-->รถไฟฟ้าชนผู้โดยสาร ผู้โดยสารตกราง
ไม่เคยได้ยินเหมือนกันว่ารถบีทีเอสของเราเคยชนรึเปล่า แต่เท่าที่จำได้ เคยได้ยินเรื่องผู้โดยสารตกรางครับ อันนี้ก็มีหลายอย่าง ผู้โดยสารอาจจะเมา ลื่นล้ม หรือจงใจให้รถไฟชน(ลาก่อย) ก็เป็นไปได้ครับ กว่าจะช่วย(หรือเก็บศพ)ผู้โดยสารก็ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครับ
ขณะกำลังเขียนโพสต์นี้ มันก็เด้งขึ้นมาครับ พอดีเลย สายที่มีปัญหาคือสายสีฟ้าครับ แต่มันทำรถไฟชานเมืองที่วิ่งรางข้างๆ จอดไปด้วย แล้วรถไฟชานเมืองโตเกียวเชื่อมเหนือใต้กันยาว 200 กิโลเมตร..
รถไฟสายสีฟ้าเจ้าปัญหา... (ชนกับรถบำรุงทางเมื่อสองปีก่อน)
-->ภัยธรรมชาติ...กรุงเทพอาจไม่ค่อยมีเท่าไหร่ แต่ที่ญี่ปุ่น เกาะมหาสนุกครับ(ใช้คำพูดไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ 555) แต่รถไฟญี่ปุ่นไม่ทนฟ้าฝน ฝนหนัก หิมะตกหนักเมื่อไหร่ก็จอดสนิททุกสาย
หิมะตกหนักเมื่อสองปีที่แล้ว แล้วผมไปเที่ยวฮาโกเนะพอดี... ก็ได้แต่นอนเล่นในโรงแรมอุ่นๆ
-->รถไฟฟ้าเสีย ประแจสับรางพัง อันนี้ก็มีผลพอสมควรครับ กว่าจะแก้ไขปัญหาได้ก็ต้องใช้เวลา และสามารถเกิดได้ทุกเส้นทางครับ ขึ้นอยู่กับหนักเบา รถไฟชานเมืองก็เช่นกัน บางทีรถสินค้าวิ่งด้วย แล้วรถสินค้าจะเป็นตัวปัญหาครับ (เอาออกยากด้วย หนัก) เคยมีครัังนึงใจกลางโตเกียว...
   เคยมีช่วงเมษายนที่ สายรอบเมือง yamanote line เสาไฟฟ้าล้มที่อะกิฮาบาร่าครับ รถไฟก็วิ่งได้ไม่ครบ ผมไปดูเหตุการณ์ก็เห็นชาวต่างชาติไปไม่ถูก งง ทำไมรถไฟไม่ไปถึงโตเกียวสเตชั่นตามที่เขียนในแผนที่หละ? (สงสารชาวต่างชาติด้วยกัน)

   ผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าที่ญี่ปุ่นเองก็มีปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องเช่นกัน แต่ทว่าเราอาจจะไม่ค่อยทราบ แต่เมื่อเราเจอรถไฟฟ้าสายหลักๆ ขัดข้องก็อาจจะไปไม่ถูกเช่นกัน
   แล้วในฐานะที่เราใช้รถไฟฟ้าไปทำงาน ก็มีโอกาสที่รถไฟฟ้าจะเกิดปัญหาขัดข้องในช่วงเวลาเร่งด่วนเช่นนี้ เราจะทำเช่นไร
-->ติดตามข่าวการจราจร ...แต่ที่กรุงเทพเรามีรถไฟฟ้าแค่ 4 สายเท่านั้นเอง...ก็เอาเป็นว่ามันไม่ขัดข้องง่ายๆ หรอก ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์เขาก็คอยประชาสัมพันธ์ในเฟสบุ๊คเรื่อย (ติดตามตอนต่อไป ตอนพิเศษ...)
-->บีทีเอสฉลาดมากที่ห้ามผู้โดยสารเข้าสถานี
ทำถูกต้องครับ เพราะมีแต่ที่ผู้โดยสารจะหลั่งไหลเข้ามาในสถานีจนเกินรับได้ ที่ญี่ปุ่นก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน

http://www.asahicom.jp/articles/images/AS20160118000789_comm.jpg

--> ที่ญี่ปุ่นมีการรองรับที่เจ๋งกว่า นี่จะเป็นประโยชน์ของการมีรถไฟฟ้าซ้ำซ้อน หรือการมีรถไฟฟ้าเป็นระบบหลายสาย
ญี่ปุ่นมีทั้งรถไฟฟ้า Japan Railways (JR) และรถไฟเอกชนอีกหลายบริษัทมากครับ และทางรถไฟนั้นซ้อนๆ กัน ตัวอย่างชัดเจนคือชานเมือง โตเกียว โอซาก้า ในที่นี้ผมขอพูดถึงโตเกียวกับโยโกฮาม่าละกัน จากโยโกฮาม่าเข้าโตเกียวมีเส้นทางสี่เส้นครับ (JR 2 เอกชน 2) ถ้าหากเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดหยุดวิ่งขึ้นมา ก็สามารถหันไปใช้เส้นอื่นได้ครับ เมืองอื่นๆ อย่างไซตามะ(ไม่ใช่หัวล้านหมัดเดียว) กับชิบะ หรือทาชิกาว่า(ชานเมืองโตเกียวตะวันตก) ก็มีรถไฟ JR หรือเอกชนคู่กันครับ
   นอกจากนี้ในตัวเมืองโตเกียว ถ้ารถไฟสาย yamanote เสียก็อาจจะหันไปใช้รถใต้ดิน เป็นเช่นนี้ครับ ไปยังไงก็ถามเจ้าหน้าที่ ไม่ก็เปิดแอพฯ (เจ้าหน้าที่ก็เปิดแอพเดียวกันนั่นแหละ) (ความสามารถพิเศษของพวกคนชอบรถไฟก็คือนั่งรถไฟผิดสาย แต่สามารถถึงจุดหมายปลายทางได้เช่นกัน5555)
   สุดท้ายคือญี่ปุ่นจะออกตั๋วพิเศษให้ว่ารถไฟวันนี้ล่าช้ากี่นาที แล้วคุณก็นำตั๋วนั้นไปให้เจ้านาย หรืออาจารย์ เขาก็จะรับและเข้าใจว่าคุณไม่ได้ตื่นสายแต่อย่างใด ที่ไทยเราก็ต้องคอยมีการติดต่อกันว่าถ้ามีรถไฟฟ้าเสียก็จะได้ทราบกันทั่วไปว่าวันนี้นักเรียนมาสาย ฯลฯ ...แต่ในเรื่องของตั๋วรับรองการล่าช้าก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจครับ

WORKETA
worketadirect@gmail.com
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น