7 ก.ค. 2563

8th Anniversary : Know more about WORKETA รู้จักกับผู้เขียนมากขึ้น!!

สวัสดีครับ

ผมเริ่มเขียนบล็อกนี้มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 จนถึงวันนี้ นับเป็นเวลาถึง 8 ปีแล้ว
กลับไปดูโพสต์ที่ทำไว้ตอนแรกๆ ครับ (แล้วก็อดขำไม่ได้ว่าตัวเองทำอะไรลงไป ถถถถ)



   ก่อนอื่น ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่คอยชมผลงานของผมครับ ทุกวันนี้โพสต์เก่าๆ ยังมียอดวิวเพิ่มขึ้นไม่ขาดสาย ถึงแม้ช่วงหลังๆ ผมเริ่มหันมาเขียนบทความเกี่ยวกับรถไฟและการขนส่ง ซึ่งเป็นงานอดิเรกและสิ่งที่กำลังเรียนรู้วิชาอยู่ในปัจจุบันมากขึ้น ขอบคุณจริงๆ ครับ

ในวาระครบรอบ 8 ปีนี้ ผมคิดว่าน่าจะให้ผู้อ่านได้รู้จักกับตัวตนของผู้เขียนบล็อกนี้ที่ใช้ชื่อว่า "WORKETA" มากขึ้น จึงขอนำเสนอ Know more about WORKETA ในรูปแบบ Q&A กันครับ


Q1 : WORKETA เป็นชื่อที่ได้จากอะไร?
A : ว คือชื่อผมครับ แล้วผมเอามาต่อกับนามสกุล (เค...) และอยากให้มันชื่อคล้ายๆ ญี่ปุ่นหน่อย (ตะ...) เลยได้ชื่อว่า WORKETA ครับ เป็นชื่อที่ผมคิดเอง

Q2 : WORKETA STUDiO มีแค่ผมคนเดียว?
A : ใช่ครับ ทำไมเรียกสตูดิโอไม่รู้เหมือนกัน แต่ส่วนตัวก็คือชอบงานสร้างสรรค์ และสามารถตัดต่อวิดิโอได้เช่นกัน (ไม่มีการรับงาน)

Q3 : WORKETA เกิดเมื่อปี... 
A : 2541 (1998) เกิดที่พระนคร กรุงเทพฯ 
ตอนแรกๆ จะมีเขียนกำกับไว้ว่า WORKETA STUDiO, Phra Nakorn

Q4 : จบจาก... 
A : โรงเรียนในเขตพระนคร แถวๆ สะพานพุทธ 

Q5 : แต่ผมมาอยู่ญี่ปุ่นตั้งแต่ 2013 = 15 ปี?
A : หลังจากจบ ม.3 ที่สวนกุหลาบฯ แล้วมาเรียน ม.ปลายที่โตเกียวครับ ระหว่างนั้นมีช่วงว่างเว้นเรียนภาษาญี่ปุ่นในโตเกียวเช่นกันครับ

Q6 : อะไรคือแรงจูงใจที่คุณอยากมาญี่ปุ่น
A : อืม... ก็อยากมานะ...กับ...รถไฟ? ชอบทั้งรถไฟไทยรถไฟญี่ปุ่น

Q7 : อะไรคือจุดเริ่มต้นของการชอบรถไฟ
A :
 
รถไฟไทย : ไปส่งญาติกลับตจว. บ่อยๆ ครับ เห็นล้อรถไฟกลมๆ หมุนๆ ตอนออกจากสถานี เพลินดีนะ...

รถไฟญี่ปุ่น : Plarail ของเล่นสุดฮิตที่หลายๆ คนชอบ รถไฟรุ่นแรกๆ ที่มีคือ Shinkansen Series 700 ที่เพิ่งปลดประจำการเมื่อเดือนมีนาที่ผ่านมาครับ เสียดายอยากร้องไห้มาก เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นของรถไฟญี่ปุ่นทั้งหมดทั้งปวงที่ผมมาชอบรถไฟญี่ปุ่น

Tribute to the last Shinkansen Series 700

Q8 : ปัจจุบัน?
A : อยู่ที่ Itoshima, Fukuoka ครับ 
ส่วนตัวตอนแรกคิดว่าอยู่โตเกียวก็สะดวกดี แต่ก็ลองเปลี่ยนบรรยากาศมั่ง...
ส่วนบ้านที่กรุงเทพ ปัจจุบันอยู่ใกล้กับสถานีสามเสนครับ

Q10 : ภาษาญี่ปุ่นระดับไหน?
A : N700 Supreme

Q9 : ข้อข้างบนนี่ตอบเอาฮาใช่มั๊ย
A : ใช่ ผมเป็นคนชอบกวนประสาทนิดนึง นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผลงานสร้างสรรค์ตลกๆ ออกมาเรื่อยๆ ในตอนแรกก็ได้ครับ ในทางกลับกันผมเป็นคนที่ค่อยๆ สร้างอะไรออกมาเรื่อยเปื่อยเต็มไปหมด แต่ผมไม่ถนัดในการ input อะไรสักอย่าง อย่างหนังสือยาวๆ ผมไม่อ่านหมดหรอก...

และถ้าคุณดูดีๆ ข้อ 9 กับ ข้อ 10 สลับกับ


Q11 : อะไรคือสิ่งที่คุณได้จากการมาอยู่ต่างจังหวัดในญี่ปุ่น ตลอดชีวิตที่ผ่านมาคุณเป็นคนเมืองกรุงตลอด
A : Itoshima วิวสวยดีนะ แม้ว่าจะไม่ค่อยสะดวกสบายเท่าโตเกียว แต่กลับกลายเป็นว่าเวลาที่ผมมีธุระกลับไปโตเกียวผมรู้สึก comfortable กับเมืองกรุงมากกว่า

Q12 : อีกอย่างที่ทำให้ชอบรถไฟญี่ปุ่นมากขึ้น?
A : ที่ไทยได้รับรถนอนมือสองมาจากญี่ปุ่น และผมเองก็ได้มีโอกาสพบเห็นบ่อยครั้ง ทำให้ชอบทั้งรถไฟไทยและรถไฟญี่ปุ่นมากขึ้นครับ

Q13 : รถไฟบลูเทรนก็ชอบ?
A : ด้วยเหตุผลจากข้อด้านบน และหลังจากนั้นพ่อผมซื้อรถไฟโมเดลให้ขบวนแรกนั้นก็เป็นโมเดลบลูเทรนเช่นกัน (จริงๆ ผมเป็นคนเลือกเองแหละ ถถถถ)

ผมมาญี่ปุ่น 2013 ได้มีโอกาสเห็น Akebono / Hokutosei / Cassiopeia เที่ยวสุดท้ายทั้งหมด

A : ยูทูปก็มาพร้อมกับ blogspot นี่แหละครับ อยู่ญี่ปุ่นก็เต็มไปด้วยวิดิโอรถไฟญี่ปุ่น แต่จริงๆ แล้ววิดิโอรถไฟไทยเหมือนจะยอดวิวเยอะกว่า ช่วงนี้จะพยายามอัพเดตให้ไม่ขาดช่วง ครับ

Q15 : ด้วยเหตุนี้จึงอยากทำโมเดลรถไฟไทย?
A : ครับ

Q17 : ตอนนี้เป็นเด็กมหาลัย?
A : เรียนวิศวะที่มหาลัยใกล้ๆ Itoshima, Fukuoka ครับ ในอนาคตคิดเหมือนกันว่าอยากทำงานอะไรที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ หรืออาจจะเป็นยานยนต์เครื่องกลอื่นๆ ก็ได้

Q18 : ความคิดในแง่บวกลบกับรถไฟ
A : เชื่อว่ารถไฟไทยก็พยายามรักษารถ รักษารางให้สะอาดและพร้อมใช้งานอยู่เสมอแหละครับ ผู้โดยสารก็ต้องร่วมมือช่วยกันรักษาความสะอาดด้วยเช่นกัน
รถไฟญี่ปุ่นก็ไม่ได้ perfect เสมอไปครับ บางบริษัทก็ถนอมใช้รถ 40 ปีขึ้นไป ฯลฯ รถไฟแต่ละประเทศก็มี "Issues" ที่ต่างกันไปครับ

Q19 : เหตุที่เริ่ม Twitter
A : คิดว่าน่าจะเป็นอีกตัวเลือกที่สามารถประชาสัมพันธ์บล็อกกับยูทูปได้ เลยลองดูครับ (ทั้งนี้เพื่อรองรับทั้งคนไทย ญี่ปุ่น เลยลองเป็น twitter) ตอนนี้ได้รับความนิยมกับการทำสีรถไฟโมเดลนี่แหละครับ

ขอบคุณสำหรับที่ผ่านมา และเป็นกำลังใจให้ผมสร้างสรรค์ต่อไปครับ

WORKETA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น