26 มิ.ย. 2563

ขุดภาพเก่าๆ : สายสีแดงตลิ่งชันสมัยยังใช้ดีเซลรางเดินขบวน Taling Chan Red Line DMU in 2012

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน

 วันนี้ผมขอขุดภาพเก่าๆ สมัยที่รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซ่อน-ตลิ่งชัน สมัยที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ เมื่อ 7 ปีทีแล้วมาชมกันครับ
 皆さんこんにちは。今日は7年前に暫定開業した Bang Son - Taling Chan 間のSRTレッドラインを見ていこうと思います。バンコク近郊区間の鉄道を複々線電化する巨大なプロジェクトであるレッドラインは1990年代から構想が始まって、30年たった2021年にやっと夢がいよいよ実現します。

สั้นๆ ก่อนเข้าเรื่อง

Q : ทำไมเราถึงเรียกลักษณนามของรถไฟผิดว่า "โบกี้" อยู่บ่อยๆ
A : รถไฟเรียกเป็นตู้ คัน ไปเลยครับ "โบกี้" คือส่วนแคร่รถไฟที่มีสี่ล้อยึดติดกันครับ หลายๆ คนก็ออกมาพูดเรื่องนี้ว่าอย่าเรียกรถไฟว่าโบกี้
แต่ที่เราชินกับคำว่าโบกี้ เพราะว่ารถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ เขามีชื่อ "โบกี้" ติดมาด้วยครับ อักษรย่อตู้โดยสารปัจจุบันขึ้นต้นด้วย "บ" ทั้งหมดเพราะเขามีโบกี้ครับ สมัยก่อนเรายังมีรถไฟที่มีแค่เพลาหน้าหลังอย่างละคู่ เหมือนกับรถยนต์ รถเหล่านี้ไม่มีโบกี้ เมื่อรถไฟยาวขึ้น ใหญ่ขึ้น จึงมาใช้แคร่ที่มีล้อติดกันสองคู่ (เพื่อลดรัศมีความโค้ง) เราจึงเรียกรถกลุ่มนี้ว่า "รถโบกี้" เพราะเขามีโบกี้ แต่เขาไม่ได้ชื่อโบกี้
เพราะฉะนั้น เรามาเรียกรถไฟเป็น "คัน" "ตู้" กันนะครับ

แนะนำให้อ่าน "รถไฟฟ้าสายใหม่ ช่วยลดปัญหาการจราจรได้จริงๆ หรือเปล่า"


สำหรับคนที่ไม่ทราบ โครงการ mega project รถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นแบ่งเป็นสายไปตลิ่งชันกับสายไปรังสิต จริงๆ สองโครงการนี้ควรควบคู่ไปด้วยกัน แต่เนื่องจากสายรังสิตมีปัญหากับตอม่อ Hopelesswell สถานีกลางบางซื่อและเรื่องของการประมูลตัวรถไฟฟ้ากับระบบไฟด้วย ฯลฯ ทำให้สัญญาถูกแบ่งออกไปให้ช่วงบางซ่อน - ชุมทางตลิ่งชันทำการสร้างก่อน ซึ่งแล้วเสร็จในปลายปี 2555 ครับ โดยมีสถานีบางซ่อนเป็นสถานีลอยฟ้า สถานีบางบำหรุ และชุมทางตลิ่งชันเป็นสถานีระดับดิน
現在のレッドラインプロジェクトは、Bang Sue駅を巨大な中央駅にして、そこから線路が4方向に延びます。先行区間として、Bang Son - Taling Chan 間が2012年に完成しましたが、当時は車両や電気設備がまったくないため、THN/NKF型気動車を4両投入して、朝夕の通勤時間だけ運行して暫定開業しました。

อีกจุดเด่นหนึ่งของระบบรถไฟสายสีแดงคือเป็นรถไฟที่มีขนาดราง 1.000 เมตรเท่ากับรถไฟปัจจุบัน ทั้งก็เพื่อเป็นการอัพเกรดเส้นทางรถไฟภายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และเพื่อรองรับในอนาคต(อีกกี่ปีก็ไม่รู้เหมือนกัน)ที่จะมีการขยายรางไฟฟ้าไปอีกจึงใช้ขนาดรางเท่ากับรถไฟเดิม
Airport Link นั้นใช้ราง 1.435 เมตรเพราะเป็นการวางพื้นฐานระบบรถไฟความเร็วสูงในเฟสแรกครับ จะเห็นว่าที่ลาดกระบังมีการเตรียมการให้ขยายทางออกไปทางทิศตะวันออกได้ครับ


เนื่องจากสร้างแล้วเสร็จแต่ยังไม่มีสถานีปลายทางบางซื่อ และไม่มีรถและระบบไฟฟ้าเลย ทางการรถไฟจึงได้นำรถดีเซลรางจำนวน 4 คัน (2คัน 2ขบวน) มาใช้เพื่อวิ่งบริการชั่วคราวในระยะแรกโดยเริ่มให้บริการ 5 ธันวาคม 2555 โดยวิ่งเฉพาะตอนเช้าเย็น ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย
ดีเซลรางที่ใช้วิ่งชั่วคราวนั้นประกอบด้วย THN/NKF หมายเลข กซข. 1102/ 1105/ 1111/ 1257  สถานีรถไฟฟ้านั้นออกแบบให้มีชานชาลาเสมอระดับพื้นรถ แต่รถดีเซลรางมีบันไดสำหรับชานชาลาต่ำ ทำให้มีการติดตั้ง step ที่ประตูรถครับ (เหมือนกับรถไฟที่วิ่งไปทางขอนแก่นในปัจจุบัน การติดตั้งสเต็ปนั้น ดีเซลราง 4 ตู้นี้เป็นผู้บุกเบิกครับ)
このTHN/NKF車両は、高ホーム対応のため初めてドアステップが設置された車両で、側面全体がメタリックブルーに塗装されました。
ภายในรถ
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทางรถไฟขนานกับสะพานพระรามหก

สถานีรถไฟบางซ่อน ตอนนั้นสายสีม่วงเหนือยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอยู่เลยครับ

ส่วนสถานีบางซ่อน หน้าตาคล้ายๆ สถานีรถไฟบีทีเอสช่วงแรกๆ ครับ
(แล้วก็อยากจะกลับมาถามอีกเช่นเคยว่าใครเป็นคนออกแบบสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ให้เป็นแบบนั้น ถถถ)

รถไฟทางไกลวิ่งผ่านที่หยุดรถบางซ่อนบนทางรถไฟสายใต้

สายสีแดงชั่วคราวนั้นเปิดเดินรถชั่วคราวในช่วงแรกๆ ไม่ค่อยมีคนใช้งาน ทั้งนี้เพราะยังไม่ได้เชื่อมต่อกับบางซื่อ และระบบการคมนาคมอื่นๆ ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก สองปีถัดมามีการก่อสร้างทางด่วนในช่วงที่ทับซ้อนกับเขตทางรถไฟ ทำให้ต้องหยุดเดินรถตั้งแต่ช่วงปี 57 ครับ ส่วนตู้ดีเซลรางนั้นก็ถอด step ออกแล้วให้บริการในรถไฟรางไกลตามปกติ

ส่วนการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบนั้นจะเปิดพร้อมกับสายแดงเข้มที่รังสิตครับ ในช่วงแรกๆ เป็นระยะทางสั้นๆ จากบางซื่อถึงตลิ่งชันเท่านั้น แต่ในอนาคตก็พร้อมที่จะขยายเส้นทางไปทางธนบุรี และศาลายาด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้วหวังว่าจะได้ทำหน้าที่เป็นเส้นทางรถไฟสายหลักใหม่อย่างเต็มประสิทธิภาพครับ
このレッドラインは、14年に在来線とほぼ平行して高架高速道路環状線が建設されることになったため、運行を取りやめ、このTHNたちも本線運用に復帰した。


また、当初も Bang Son 駅の交通アクセスが何もなかったため、利用者がかなり少なかったことも取りやめの原因かもしれない。

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น