ที่ว่าด้วยการกระจุกตัวเกินไปในย่านเตาปูน บางซื่อ ซึ่งน่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อรถไฟฟ้าเปิดพร้อมกันในปี 2563 ครับ การแก้ปัญหาที่น่าจะทำได้ง่ายที่สุดคือต้องมีรถเสริมรองรับที่เตาปูนครับ ทว่าจะสามารถจัดรถเสริมในตารางเวลาที่หนาแน่นได้หรือเปล่า ผมคิดว่า
รถวิ่งยาวตลอดสาย ทุกๆ 5 นาที
รถวิ่งเสริมหมดระยะแค่ หัวลำโพง เตาปูน ทุกๆ 5 นาที
วิ่งสลับกันจะได้ความถี่ที่ 2.30 นาทีในส่วนที่อยู่ในเมืองครับ (.30 คือวินาทีครับ)
สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ได้กล่าวไว้ในโพสต์ที่แล้วครับ
ว่าบีทีเอสส่วนต่อขยายทางด้านเหนือ จากหมอชิตถึงปทุมธานีนั้นก็จะเปิดให้บริการในปีติดๆ กันกับทั้งสายสีแดงและน้ำเงินครับ
เท่ากับว่าที่เคยกล่าวไว้ว่า "ผู้โดยสารก็จะต้องมาต่อรถบีทีเอสที่หมอชิตเพื่อเข้าเมืองอีกที" นั้น กลายเป็นว่าเมื่อหมอชิตไม่ใช่ต้นทางอีกต่อไป จะทำให้บีทีเอสหมอชิตเกิดการ Overload จากผู้โดยสารที่มาจากปทุมธานีกับผู้โดยสารใหม่ที่ต่อรถมาจากสายสีน้ำเงินครับ แล้วกว่าจะไปถึงสยาม ผู้โดยสารตามรายทาง อีกทั้งผู้โดยสารจากพญาไทอีก ...ได้เวลาสนุกแล้วสิ
ก็เป็นการตอกย้ำอีกทีว่าปัญหาที่มีตอนนี้ไม่ใช่แค่การจัดการกับปัญหารถไฟฟ้าเข้าเมือง แต่ต้องมีการจัดระเบียบของรถไฟฟ้าภายในตัวเมืองชั้นในเพื่อรองรับการเดินทางเข้าถึงใจกลางเมืองด้วย สิ่งหนึ่งที่ผมกลับไปสนใจคือส่วนต่อขยายของบีทีเอส "สนามกีฬาแห่งชาติ - ยศเส" ซึ่งก็ไม่ได้มีใครพูดถึงมาสักระยะแล้ว ถ้าเราสามารถเชื่อมต่อรถบีทีเอสมาถึงยศเส และเชื่อมสายสีแดงเข้ามาถึงจุดเดียวกันได้นั้น การเดินทางจากรถไฟสายสีแดงเข้าสู่สยามหรือไปทางสีลมจะสะดวกมากๆ เพราะไม่ต้องผ่านสายสุขุมวิทซึ่งจะมีความแน่นมากขึ้นในอนาคต
สุดท้ายนี้ก็ลองฝากให้คิดว่า การสร้างระบบขนส่งมวลชนในระดับนี้จะต้องใช้เวลาพอสมควร และเมื่อรถไฟฟ้าเริ่มให้บริการ ปัญหารถติดจะยังไม่หายไปในทันที จะเห็นการเปลี่ยนแปลงทีละนิดๆ ที่คนค่อยๆ ทยอยกันไปใช้รถไฟฟ้า หรือคนจะพบว่าการเชื่อมต่อรถไฟฟ้ายังไม่สมบูรณ์ดีแล้วทำให้คนยังไม่กล้าใช้รถไฟฟ้า มาคอยติดตามกันครับ
ผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชนโดยตรงครับ ผมเองก็ไม่สามารถที่จะพูดได้เต็มปากเต็มเสียงและก็อาจจะไม่ได้ถูกต้องเสมอไปครับ เป็นเพียงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเท่านั้นครับ
WORKETA (ติดตามทวิตเตอร์ได้ครับ)
รถวิ่งยาวตลอดสาย ทุกๆ 5 นาที
รถวิ่งเสริมหมดระยะแค่ หัวลำโพง เตาปูน ทุกๆ 5 นาที
วิ่งสลับกันจะได้ความถี่ที่ 2.30 นาทีในส่วนที่อยู่ในเมืองครับ (.30 คือวินาทีครับ)
สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ได้กล่าวไว้ในโพสต์ที่แล้วครับ
ว่าบีทีเอสส่วนต่อขยายทางด้านเหนือ จากหมอชิตถึงปทุมธานีนั้นก็จะเปิดให้บริการในปีติดๆ กันกับทั้งสายสีแดงและน้ำเงินครับ
เท่ากับว่าที่เคยกล่าวไว้ว่า "ผู้โดยสารก็จะต้องมาต่อรถบีทีเอสที่หมอชิตเพื่อเข้าเมืองอีกที" นั้น กลายเป็นว่าเมื่อหมอชิตไม่ใช่ต้นทางอีกต่อไป จะทำให้บีทีเอสหมอชิตเกิดการ Overload จากผู้โดยสารที่มาจากปทุมธานีกับผู้โดยสารใหม่ที่ต่อรถมาจากสายสีน้ำเงินครับ แล้วกว่าจะไปถึงสยาม ผู้โดยสารตามรายทาง อีกทั้งผู้โดยสารจากพญาไทอีก ...ได้เวลาสนุกแล้วสิ
สุดท้ายนี้ก็ลองฝากให้คิดว่า การสร้างระบบขนส่งมวลชนในระดับนี้จะต้องใช้เวลาพอสมควร และเมื่อรถไฟฟ้าเริ่มให้บริการ ปัญหารถติดจะยังไม่หายไปในทันที จะเห็นการเปลี่ยนแปลงทีละนิดๆ ที่คนค่อยๆ ทยอยกันไปใช้รถไฟฟ้า หรือคนจะพบว่าการเชื่อมต่อรถไฟฟ้ายังไม่สมบูรณ์ดีแล้วทำให้คนยังไม่กล้าใช้รถไฟฟ้า มาคอยติดตามกันครับ
ผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชนโดยตรงครับ ผมเองก็ไม่สามารถที่จะพูดได้เต็มปากเต็มเสียงและก็อาจจะไม่ได้ถูกต้องเสมอไปครับ เป็นเพียงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเท่านั้นครับ
WORKETA (ติดตามทวิตเตอร์ได้ครับ)
เพิ่มเติม : บทความนี้ได้รับการแก้ไขเล็กน้อยในปี 2022
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น