1 ก.ย. 2563

Japan's Railway Museum Part 1-1 : พาชมพิพิธภัณฑ์รถไฟในญี่ปุ่นกัน ตอนที่ 1-1 @Saitama Railway Museum

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน

วันนี้เราจะพาทุกท่านมาชมพิพิธภัณฑ์รถไฟหลักๆ ในแต่ละภูมิภาคของญี่ปุ่นกันครับ
โดยพิพิธภัณฑ์รถไฟในแต่ละภูมิภาคสามารถเข้าชมได้ตามสารบัญดังต่อไปนี้...

สารบัญ ---
ตอนที่ 1 Railway Museum in Saitama พิพิธภัณฑ์รถไฟในไซตะมะ 
(YOU ARE HERE) Part 1-1 Main Building (2007)




ลำดับแรก เราจะพาชมพิพิธภัณฑ์รถไฟที่อยู่ใกล้โตเกียวมากที่สุดคือ "The Railway Museum" ใน Saitama ครับ

เดิมทีแล้วมีพิพิธภัณฑ์การขนส่ง Transportation Museum (交通博物館) อยู่ใจกลางกรุงโตเกียวที่ Ochanomizu แต่ด้วยความเก่าแก่ของอาคารจึงได้ปิดตัวลงในปี 2006 และ JR-East ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ใหม่ที่ไซตะมะห่างออกไปจากโตเกียวประมาณ 30 กม. โดยใช้ชื่อว่า "The Railway Museum 鉄道博物館" ในปีถัดมาครับ

Omiya เป็นสถานีรถไฟหลักของไซตะมะ ไม่ว่าจะเป็นชุมทางของรถไฟชินคันเซ็นไปทาง Joetsu, Hokuriku, Tohoku & Hokkaido แล้วยังมีโรงงานซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ตั้งแต่สมัยการรถไฟญี่ปุ่นครับ ปัจจุบันซ่อมรถไฟของ JR-East และรถจักรสินค้าของ JR-Freight
พิพิธภัณฑ์นี้อยู่ด้านหลังของโรงงานรถไฟ รถจักรส่วนใหญ่ที่ตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ก็ได้รับการซ่อมบำรุงโดยโรงงานแห่งนี้ก่อนนำมาจัดแสดงเช่นกันครับ

ในปี 2018 พิพิธภัณฑ์นี้ได้มีการเปิดส่วนต่อขยาย Annex ด้านใต้ออกไป ซึ่งทำให้เราจะแบ่งโพสต์นี้ออกเป็นสองตอนครับ ตอนแรกจะโฟกัสไปกัน Main Hall กันครับ


ทางเข้าจะเป็นเครื่องตรวจตั๋ว สมัยก่อนตั๋วเข้านั้นจะเป็นระบบบัตรแตะครับ และผู้ที่มีบัตร Suica อยู่แล้วสามารถเอาบัตรไป Register ที่เครื่องขายตั๋วก่อนแล้วใช้บัตรรถไฟของตัวเองเข้าได้ครับ (รู้สึกวิธีการเข้าน่าจะเปลี่ยนเมื่อปีก่อนครับ ผมเองก็ไม่ได้ไปกว่าสองปีแล้ว)


เข้าไปเลี้ยวขวา จะเจอกับหัวรถจักรหมายเลข 1 ที่ใช้ในทางรถไฟสายแรก Shimbashi - Yokohama ครับ
สถานีชิมบาชิเดิมปัจจุบันคือย่าน Shiodome อาคารสถานีเก่ายังหลงเหลืออยู่ครับ ส่วน Yokohama นั้นอยู่ใกล้ริมน้ำ Sakuragicho ครับ


ในโซนใกล้เคียงจะเป็นรถจักรและตู้โดยสารในสมัยก่อนสงครามโลกเป็นส่วนใหญ่ครับ


แว้บมาที่จุดรวมพลของพิพิธภัณฑ์นี้ครับ ตรงกลางนี้จะเป็นแท่นกลับรถจักร Turntable (ผลิตมาเพื่อพิพิธภัณฑ์นี้โดยเฉพาะ และใช้ในการสับเปลี่ยนหัวรถจักรด้วยครับ) โดยมีรถจักรโชว์อยู่บนแท่นได้แก่

C57 135 : รถไฟที่ทำขบวนรถจักรไอน้ำเที่ยวสุดท้ายในปี 1978 
และ EF55 1 : หรือ "มูมิน" รถจักรไฟฟ้าสมัยก่อนสงครามโลกที่สร้างขึ้นมาเพียงสามคัน และเหลือเพียงแค่คันสุดท้าย 

C57 กับ EF55 จะสลับกันอยู่บนแท่นหมุนทุกๆ 6 เดือนครับ มูมินนั้นเข้ามาเป็นน้องใหม่ของพิพิธภัณฑ์นี้ในปี 2016 ครับ โดยตอน 12:00 กับ 15:00 จะมีการโชว์แท่นหมุนกับเปิดหวูดโชว์ครับ

จากภาพ จะเห็นหลังวงเวียนจะมีรถไฟฟ้าอยู่สามหัวและรถจักรต่างๆ โดยรถไฟด่วนหัวโหนก Bonnet เป็นรถไฟต้นแบบของรถไฟความเร็วสูงครับ
และยังมีรถไฟด่วนแบบกระแส AC/DC (Series 481 / Series 455) กับหัวรถจักรรุ่น ED75 ที่ใช้เฉพาะกระแสสลับครับ

รถไฟญี่ปุ่นเดิมทีติดไฟฟ้ากระแสตรงDC 1.5 kV เฉพาะเส้นทางหลักๆ แต่ตามภูมิภาคอย่าง Tohoku, Hokuriku, Kyushu นั้นยังไม่ได้รับการติดตั้งกระแสไฟฟ้า ในตอนนั้นได้มีการนำร่องการติดตั้ง AC 20 kV พบว่าได้ผลดีและรวดเร็วกว่าการติดตั้งกระแสตรง จึงได้ตะลุยติดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับในภูมิภาคที่เหลือ
ในเวลาเดียวกันญี่ปุ่นก็ได้พัฒนารถไฟด่วนที่สามารถวิ่งได้ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับซึ่งก็ได้แก่รุ่น 455 / 481 / 485 และรถไฟฟ้าเหล่านี้เป็บ Almighty ที่สร้างระบบโครงข่าย Limited Express เชื่อมภูมิภาคต่างๆ ของญี่ปุ่น และบริการด้วยความเร็วที่สูงกว่ารถด่วนดีเซลในสมัยก่อนครับ



ไปข้างหลังนิดนึงจะเจอกับห้องแยกที่จัดแสดงรถไฟชินคันเซ็นรุ่นแรก (ที่เรามักจะเรียกว่ารถไฟหัวกระสุน) หรือ Series 0 โดยมีการจำลองบรรยากาศที่เปิดชินคันเซ็นใหม่ๆ ครับ
ล็อตแรกๆ นั่นใช้ฝาครอบเป็นพลาสติกทำให้เห็นแสงที่ลอดมาจากหลอดไฟข้างในครับ ในหัวกลมๆ นี้มีตะขอพ่วงในยามฉุกเฉินครับ


นอกจากนี้ยังมี Series 200 ซึ่งใช้ในชินคันเซ็นสาย Tohoku / Joetsu ที่เปิดในปี 1982
ภูมิภาค Tohoku และ Joetsu มีสภาพอากาศหิมะตกหนัก ทำให้ต้องออกแบบชินคันเซ็นที่ทนต่อหิมะและอากาศหนาวจัดครับ

ส่วนตัวผมเองค่อนข้างมีความสนใจกับรถไฟญี่ปุ่นในยุคหลัง 60s มากกว่า เลยข้ามช็อตของรถไฟก่อนสงครามโลกไปพอสมควรครับ โดยเฉพาะในปี 1950s ที่ญี่ปุ่นกลับมาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น ได้มีการพัฒนารถไฟที่เป็นเบสของรถไฟปัจจุบันขึ้นมาหลายรุ่นมากครับ

เพิ่มเติม : ขึ้นไปที่ชั้นสองของ Main Hall จะสามารถเห็นรถไฟเรียงกันโดยมีแท่นกลับรถจักรอยู่ตรงกลาง
ส่วนจุดเด่นของชั้นสองนั้นคงไม่ต้องให้กล่าวถึง Diorama หรือห้องรถไฟจำลองขนาดใหญ่ครับ

ก่อนปี 2017 มีกระจกกั้นระหว่างเลยเอาท์กับโซนผู้ชม แต่ในตอนที่ปรับปรุงใหม่ได้มีการนำกระจกออกเพื่อความเพลิดเพลินในอีกระดับครับ ภาพบนนั้นถ่ายปี 2015


เทียบขนาดของเลย์เอาท์กับผู้ชม รถไฟที่วิ่งนั้นเป็นขนาด HO-Gauge ครับ


แม้ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ของ JR-EAST แต่ก็มีรถไฟโมเดลเอกชนซ่อนอยู่เช่นกันครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น