และในที่สุดวันนี้ก็มาถึง...
สวัสดีผู้อ่านทุกท่านครับ 🍜🍜🍜
WORKETA เริ่มชุดบทความใหม่เกี่ยวกับราเมงครับ
🍜🍜🍜
ตอนที่ 1 : ร้านราเมงที่มีเลข 1 : ใครคือหมายเลขหนึ่งตัวจริงกันแน่???
ตอนที่ 2 : ต้นตำรับราเมงจาก 2 เมือง (Nagahama Ramen VS Kurume Ramen)
ตอนที่ 2.2 : “Snack break !” ครัวซองต์สองร้านปะทะกันที่สถานีรถไฟ Hakata
ตอนที่ 3 : รวมร้านดังไว้ในสถานีรถไฟ Hakata Station
ตอนที่ 3.2 : รวมร้านดัง Hakata Station (other than Tonkotsu
ตอนที่ 4 : 500 Yen ประทังชีวิต
แต่ก่อนอื่น เราจะต้องมาทำความรู้จักกับราเมงกันก่อนครับ ราเมงสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีน้ำซุป เส้น และทอปปิ้งหลักๆ ที่แตกต่างกันไปครับ
ประเภทที่เราจะนำเสนอหลักๆ คือ "ราเมงซุปกระดูกหมู หรือ ทงคตสึ Tonkotsu Ramen"
หลายๆ คนเคยได้ยินทั้ง ทงคตสิ (Tonkotsu ซุปกระดูกหมู) ทงคัตสึ (Tonkatsu หมูชุบเกล็ดขนมปังทอด) ระวังอย่าสับสนละกันครับ...
เป็นราเมงน้ำข้นที่ได้จากการเคี่ยวกระดูกหมู จะได้รสชาติความเข้มและมันจากกระดูกหมูครับ โดยเส้นสำหรับราเมงซุปกระดูกหมูจะเป็นเส้นจากแป้งสาลีเส้นเล็กตรง ส่วนเครื่องท็อปปิ้งมักจะเป็นเนื้อหมูต้มแผ่นบาง หรือที่เรียกว่า "ชาชู" กับต้นหอมโรยครับ
ว่ากันว่าทงคตสึราเมงมีต้นกำเนิดมาจากเมืองคุรุเมะ ที่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดฟุกุโอกะ หรือบางเรื่องเล่าก็บอกว่าต้นกำเนิดมาจากย่านท่าเรือในฮากะตะ ซึ่งในตอนถัดๆ ไปจะแนะนำทั้งทงคตสึที่อยู่ในฮากะตะ กับ คุรุเมะ เช่นกันครับ แต่ในปัจจุบันนี้ Hakata Tonkotsu กลับเป็นราเมงที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายครับ
ต่อไปจะเป็นราเมงแบบซุปใสเกลือ "Shio Ramen" เป็นราเมงซุปใสแบบ simple ง่ายๆ ครับ จะเรียกว่าเป็นออกสไตล์จีนก็ว่าได้ครับ
เส้นของราเมงเกลือจะเป็นเส้นแบบหยักๆ ออกเหนียวนุ่มครับ (คล้ายๆ กับเส้นหมี่ละกัน...)
ต่อไปคือราเมงแบบ ซอสโชยุ "Shoyu Ramen" ซุปใสคล้ายๆ กับแบบเกลือ แต่จะใช้ซอสถั่วเหลืองครับ
ราเมงสองประเภทนี้ผมเองไม่ค่อยทานประเภทนี้เท่าไหร่นัก อาจจะไม่ได้แนะนำอย่างละเอียดในโพสต์นี้ครับ (และแทบจะไม่มีรูปเลย บ้ายบาย...)
นอกจากนี้ยังมีราเมงซุปอื่นๆ อย่างเช่นซุปจากปลาทะเล (Gyokai Ramen) หรือราเมงเผ็ดแบบใส่หมูสับที่เรียกว่า Tantanmen ครับ ทันทันเมงเหมือนจะแตกแถวจากเพื่อนไปเลยเพราะเป็นตัวเดียวที่เน้นรสเผ็ด
และอีกตัวที่เป็นตัวหนึ่งที่ผมชอบคือ ราเมงแบบ Tonkotsu Shoyu Ramen เป็นการผสมซอสถั่วเหลืองเข้ากับซุปกระดูกหมู ทำให้ได้ความกลมกล่อมไปอีกแบบ ซึ่งผมขอบอกเลยว่าก่อนที่ผมจะมาอยู่ที่ฟุกุโอกะหรือเมืองแห่งราเมงทงคตสึต้นตำรับนั้น ผมชอบราเมงแบบ Tonkotsu Shoyu มากๆ (และเฉยๆ กับ Original Tonkotsu) เพราะรสชาติกลมกล่อม และอีกอย่างคือเส้นหมี่ของราเมงแบบนี้จะเป็นเส้นหนา เหนียวนุ่ม ซึ่งเข้ากับซุปเช่นนี้มากๆ จริงๆ Tonkotsu Shoyu จะมีรสที่ค่อนข้างเค็ม แต่เข้ากับข้าวเปล่าได้อย่างดีเยี่ยม เพราะฉะนั้นผมเองมักจะสั่งข้าวเปล่ามากินกับราเมงชนิดนี้เป็นประจำ บางครั้งเราจะเรียกราเมงกรุปนี้ว่า “(Yokohama) Iekei Ramen 家系ラーメン“
ส่วนราเมงอีกชนิดที่เป็น Tonkotsu-Shoyu based นั้นคือ Jiro Ramen ซึ่ง… ลองไปค้นหาภาพดูใน Google ดูเองครับ 5555บทความราเมงนี้ จะเป็นชุดบทความเซ็ตใหญ่ ซึ่งอาจจะใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำบล็อกมาเกือบๆ 9 ปีที่ผ่านมา มาร่วมค้นหาราเมงที่อร่อยที่สุดในเมืองกัน และเมื่อวันที่เรากลับมาเที่ยวญี่ปุ่น เราเตรียมทำการบ้านมาแล้วครับ
สำหรับภาพราเมงที่นำมาให้ชมในวันนี้ ส่วนใหญ่แทบไม่ได้เขียนบอกไว้ว่านี่เป็นราเมงร้านอะไร (ยกเว้น อิปปูโด อันกลาง ซึ่งเป็น limited menu ครับ) ขอให้ผู้อ่านติดตามตอนต่อๆ ไปครับ
UPDATED 2024!!!
ตอนที่ 3.2 : รวมร้านดัง Hakata Station (other than Tonkotsu
ตอนที่ 4 : 500 Yen ประทังชีวิต
… โปรดติดตาม!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น